เรื่องเด่น

มนุษย์กรุงเทพฯ: ปภาดา กิตติช่วงโชติ และ ฐานิตา วงศ์ประเสริฐ

วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560


Image

เพื่อร่วมฉลองวันสากลยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศ (IDAHOT 2017) ธนาคารโลกร่วมกับ[facebook.com/bkkhumans]มนุษย์กรุงเทพฯ นำเสนอเรื่องราวหลากหลายที่จะร่วมสร้างแรงบันดาลใจเพื่อเป็นการขอบคุณ ให้เกียรติ และฉลองให้กับครอบครัว และสัมพันธภาพที่บุคคล LGBTI ได้รับ ได้สร้าง หรือเลือกแล้วท่ามกลางความหลากหลายของพวกเขาในประเทศไทย

ปภาดา กิตติช่วงโชติ (แม่)

“ตอนเด็กๆ เราอยากเรียน แต่ไม่มีโอกาส เพราะโตมาแม่ให้ค้าขายเลย กลายเป็นเรื่องฝังใจ เงินทองที่หามาได้ เราทุ่มให้การเรียนของลูกทั้งสองคน ไม่พอก็ดิ้นทุกทาง เพื่อให้เขาได้เรียนสูงๆ จบมาแล้วได้ทำงานดีๆ มีชีวิตที่ประสบความสำเร็จ การเรียนเป็นความคาดหวังอย่างเดียว ขอ แต่ไม่ได้บังคับ ซึ่งเขาทำให้เราได้ เรียนจบธรรมศาสตร์ ทำงานสถานทูต ใครถามก็บอกว่า ‘ลูกฉันทำงานสถานทูต พูดภาษาอังกฤษไฟแลบ’ (ยิ้มมีความสุข) เราอวดลูกได้แล้ว แต่เรื่องอื่นๆ เราไม่ยุ่งเลย ตอนเด็กๆ เขาอยากได้ชุดแบบผู้ชาย เราซื้อให้ ตอนขึ้นมหาวิทยาลัย บางครั้งเขาแต่งแบบผู้หญิง บางครั้งแต่งเหมือนผู้ชาย แต่เราไม่ได้อะไร ตอนรู้ว่ามีแฟนเป็นผู้หญิง เราก็ไม่มีปัญหา อยู่กับใครแล้วมีความสุข ไม่กระทบการงาน แค่นั้นพอแล้ว เราเคยโดนพ่อแม่บังคับให้แต่งงาน สุดท้ายไปกันไม่รอด ถึงเวลาเลิกก็เลิกง่ายมาก คนนั้นก็พ่อของเขานี่แหละ เลยบอกกับตัวเองมาตลอดว่า เราจะไม่บังคับลูกในเรื่องส่วนตัว”

ฐานิตา วงศ์ประเสริฐ (ลูก)

“ตั้งแต่เด็กๆ ที่เราอยากแต่งตัวแบบเด็กผู้ชาย ช็อปปิ้งแล้วเลือกเสื้อผ้าผู้ชาย แม่ก็ซื้อให้ พอมัธยมต้องตัดผมสั้น เราไปซอยผม แม่บอกแค่ว่า ‘ตัดเหมือนผู้ชายเลย’ แต่ไม่เคยห้ามอะไร เรามั่นใจมาตลอดว่าไม่ได้ชอบผู้ชาย บอกเพื่อนที่เรียนด้วยกันว่าชอบผู้หญิง ถึงไม่ได้บอกแม่อย่างเป็นเรื่องเป็นราว แต่เราไม่ได้จัดฉากปิดบัง ถึงตอนนี้ก็ยังไม่เคยบอกแม่ เราว่าไม่ใช่จำเป็นหรอก ลึกๆ เขาคงรู้ เพราะชีวิตเราอะไรๆ ก็มีแต่ผู้หญิง แต่เราไม่ได้ลุคแบบนี้ตลอดนะ บางวันก็ masculine บางวันก็ feminine เลยนิยามไม่ได้ว่าตัวเองเป็นทอมหรือเลสเบี้ยน แล้วเราไม่ได้สนใจนิยามตัวเองด้วย 

“การเลี้ยงดูของแม่ทำให้เรามั่นใจในตัวเอง เมื่อเขารับเราได้ คนอื่นคิดยังไงก็ช่าง ถ้าจะมีอุปสรรค คงเป็นเรื่องการแต่งงานของคนเพศเดียวกันที่ยังทำไม่ได้ในประเทศไทย การมีกฎหมายสำคัญมาก เมื่อไม่นานมานี้ เราต้องแอดมิทที่โรงพยาบาล แต่แฟนเรากลับเซ็นเอกสารไม่ได้ กลายเป็นว่าคนที่สนิทที่สุดต้องโดนผลักออกไป หมอเลยต้องโทรหาแม่ โชคดีที่ครั้งนั้นมาทัน คนไม่เห็นด้วยมักบอกว่า เมืองไทยต้องรอก่อน คนยังไม่เข้าใจ แต่เราเข้าใจ นี่ไง เจอปัญหาด้วยตัวเองมาแล้ว ตอนนี้คู่ชายหญิงมีกฎหมายรับรองสถานะ เขาเลยบอกว่ารอได้ แต่คู่เราไม่มีอะไรคุ้มครองเลย แฟนเราเป็นคนอังกฤษ คบมา 4 ปี เรามีแพลนว่าจะบินไปจดทะเบียนกัน เพราะที่นั่นสามารถทำได้ แต่ปัญหาคือพอกลับมาเมืองไทยก็ไม่มีผลอะไรอีก ขณะที่ยังใช้ชีวิตที่นี่ เราอยากมีกฎหมายคุ้มครอง”

เพื่อร่วมฉลองวันสากลยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน คนข้ามเพศ และคนรักสองเพศ (IDAHOT 2017) ธนาคารโลกร่วมกับ[facebook.com/bkkhumans]มนุษย์กรุงเทพฯ นำเสนอเรื่องราวหลากหลายที่จะร่วมสร้างแรงบันดาลใจเพื่อเป็นการขอบคุณ ให้เกียรติ และฉลองให้กับครอบครัว และสัมพันธภาพที่บุคคล LGBTI ได้รับ ได้สร้าง หรือเลือกแล้วท่ามกลางความหลากหลายของพวกเขาในประเทศไทย

ปภาดา กิตติช่วงโชติ (แม่)

“ตอนเด็กๆ เราอยากเรียน แต่ไม่มีโอกาส เพราะโตมาแม่ให้ค้าขายเลย กลายเป็นเรื่องฝังใจ เงินทองที่หามาได้ เราทุ่มให้การเรียนของลูกทั้งสองคน ไม่พอก็ดิ้นทุกทาง เพื่อให้เขาได้เรียนสูงๆ จบมาแล้วได้ทำงานดีๆ มีชีวิตที่ประสบความสำเร็จ การเรียนเป็นความคาดหวังอย่างเดียว ขอ แต่ไม่ได้บังคับ ซึ่งเขาทำให้เราได้ เรียนจบธรรมศาสตร์ ทำงานสถานทูต ใครถามก็บอกว่า ‘ลูกฉันทำงานสถานทูต พูดภาษาอังกฤษไฟแลบ’ (ยิ้มมีความสุข) เราอวดลูกได้แล้ว แต่เรื่องอื่นๆ เราไม่ยุ่งเลย ตอนเด็กๆ เขาอยากได้ชุดแบบผู้ชาย เราซื้อให้ ตอนขึ้นมหาวิทยาลัย บางครั้งเขาแต่งแบบผู้หญิง บางครั้งแต่งเหมือนผู้ชาย แต่เราไม่ได้อะไร ตอนรู้ว่ามีแฟนเป็นผู้หญิง เราก็ไม่มีปัญหา อยู่กับใครแล้วมีความสุข ไม่กระทบการงาน แค่นั้นพอแล้ว เราเคยโดนพ่อแม่บังคับให้แต่งงาน สุดท้ายไปกันไม่รอด ถึงเวลาเลิกก็เลิกง่ายมาก คนนั้นก็พ่อของเขานี่แหละ เลยบอกกับตัวเองมาตลอดว่า เราจะไม่บังคับลูกในเรื่องส่วนตัว”

ฐานิตา วงศ์ประเสริฐ (ลูก)

“ตั้งแต่เด็กๆ ที่เราอยากแต่งตัวแบบเด็กผู้ชาย ช็อปปิ้งแล้วเลือกเสื้อผ้าผู้ชาย แม่ก็ซื้อให้ พอมัธยมต้องตัดผมสั้น เราไปซอยผม แม่บอกแค่ว่า ‘ตัดเหมือนผู้ชายเลย’ แต่ไม่เคยห้ามอะไร เรามั่นใจมาตลอดว่าไม่ได้ชอบผู้ชาย บอกเพื่อนที่เรียนด้วยกันว่าชอบผู้หญิง ถึงไม่ได้บอกแม่อย่างเป็นเรื่องเป็นราว แต่เราไม่ได้จัดฉากปิดบัง ถึงตอนนี้ก็ยังไม่เคยบอกแม่ เราว่าไม่ใช่จำเป็นหรอก ลึกๆ เขาคงรู้ เพราะชีวิตเราอะไรๆ ก็มีแต่ผู้หญิง แต่เราไม่ได้ลุคแบบนี้ตลอดนะ บางวันก็ masculine บางวันก็ feminine เลยนิยามไม่ได้ว่าตัวเองเป็นทอมหรือเลสเบี้ยน แล้วเราไม่ได้สนใจนิยามตัวเองด้วย 

“การเลี้ยงดูของแม่ทำให้เรามั่นใจในตัวเอง เมื่อเขารับเราได้ คนอื่นคิดยังไงก็ช่าง ถ้าจะมีอุปสรรค คงเป็นเรื่องการแต่งงานของคนเพศเดียวกันที่ยังทำไม่ได้ในประเทศไทย การมีกฎหมายสำคัญมาก เมื่อไม่นานมานี้ เราต้องแอดมิทที่โรงพยาบาล แต่แฟนเรากลับเซ็นเอกสารไม่ได้ กลายเป็นว่าคนที่สนิทที่สุดต้องโดนผลักออกไป หมอเลยต้องโทรหาแม่ โชคดีที่ครั้งนั้นมาทัน คนไม่เห็นด้วยมักบอกว่า เมืองไทยต้องรอก่อน คนยังไม่เข้าใจ แต่เราเข้าใจ นี่ไง เจอปัญหาด้วยตัวเองมาแล้ว ตอนนี้คู่ชายหญิงมีกฎหมายรับรองสถานะ เขาเลยบอกว่ารอได้ แต่คู่เราไม่มีอะไรคุ้มครองเลย แฟนเราเป็นคนอังกฤษ คบมา 4 ปี เรามีแพลนว่าจะบินไปจดทะเบียนกัน เพราะที่นั่นสามารถทำได้ แต่ปัญหาคือพอกลับมาเมืองไทยก็ไม่มีผลอะไรอีก ขณะที่ยังใช้ชีวิตที่นี่ เราอยากมีกฎหมายคุ้มครอง”



Api
Api

Welcome