ข่าวประชาสัมพันธ์

ธนาคารโลกช่วยปากีสถานต้านรับอุทกภัย

วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553




สารด่วนจากธนาคารโลก

18 สิงหาคม 2553

ความเป็นมา

อุทกภัยร้ายแรงในปากีสถานได้ส่งผลกระทบต่อผู้คนกว่า 14 ล้านคนแล้วในขณะนี้ จากการประเมินของหน่วยงานเพื่อการบริหารจัดการสาธารณภัยแห่งปากีสถาน ในขณะที่รายงานจากแหล่งอื่นประเมินจำนวนผู้ได้รับผลกระทบไว้สูงกว่านี้ค่อนข้างมาก ความเสียหายจากอุทกภัยในครั้งนี้กินพื้นที่ทั้งสิ้น 132,421 กิโลเมตรรวมถึงพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 1.4 ล้านเอเคอร์ ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมเพิ่มขึ้นอีกและเป็นอุปสรรคต่อภารกิจการบรรเทาทุกข์ในชั้นต้น ระดับความพินาศเสียหายจากอุทกภัยครั้งนี้ยิ่งใหญ่กว่าความเสียหายจากแผ่นดินไหวในปี 2548 มากทีเดียว

ทั้งนี้คาดว่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์นี้จะมีมูลค่ามหาศาล ข้อมูลเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า ความเสียหายโดยตรงต่อที่อยู่อาศัยของประชาชนนั้นใหญ่หลวงที่สุด (การประเมินล่าสุดชี้ว่ามีบ้านเรือนจำนวน 723,000 หลังคาเรือนที่ถูกทำลายราบหรือประสบความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ง) รองลงมาเป็นความเสียหายต่อถนนหนทาง การชลประทาน และภาคเกษตรกรรม ขณะนี้มีการประเมินการสูญเสียพืชผลเป็นมูลค่าทั้งสิ้นหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อการเซาะกร่อนของดินและต่อการเกษตรโดยรวมนั้นจะประเมินได้อย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อระดับน้ำลดลงแล้ว ซึ่งคาดว่าจะเป็นประมาณกลางเดือนกันยายน

ธนาคารโลกได้ให้ความช่วยเหลืออย่างไรบ้าง

รัฐบาลปากีสถานได้ร้องขอความช่วยเหลือทางการเงินมูลค่าประมาณ 900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากธนาคารโลก ซึ่งเราก็ได้ให้คำมั่นแก่ปากีสถานว่าเรายินดีที่จะช่วยเหลือดังที่ขอมา

  • งบประมาณในส่วนนี้จะมาจากกองทุนสำหรับประเทศที่ยากจนที่สุดของธนาคาร (สมาพันธ์การพัฒนาระหว่างประเทศ  หรือ IDA) ผ่านการปรับเปลี่ยนโครงการที่อยู่ในแผนดำเนินงานของธนาคารโลกอยู่แล้วให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศหลังจากอุทกภัย และการโยกย้ายเงินทุนที่ได้รับการจัดสรรแล้วแต่ที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายจากโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
  • เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม รัฐบาลปากีสถานได้ขอให้ธนาคารโลกและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ทำการประเมินความเสียหายและความต้องการในบริเวณที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม และขอให้องค์การสหประชาชาติ (UN) ทำการประเมินความต้องการด้านการฟื้นฟูระยะเริ่มต้น (Early Recovery Needs Assessment) ธนาคารโลก ADB และ UN จะร่วมมือกันผ่านการมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินของแต่ละสถาบัน และจะประสานงานกับผู้ให้ทุนอย่างสม่ำเสมอ
  • ธนาคารโลกและ ADB ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ และทีมปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็วจาก Global Facility for Disaster Reduction and Recovery (GFDRR) ได้เดินทางถึงกรุงอิสลามาบัดเมื่อวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคมเพื่อเริ่มการประเมินดังกล่าว
  • หากไม่เกิดน้ำท่วมระลอกใหม่  เราคาดว่าการประเมินจะเสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2553
  • GFDRR ได้ให้ความช่วยเหลือในรูปแบบเงินให้เปล่ามูลค่า 1.3 ล้านเหรียญฯ แก่ปากีสถาน  เพื่อสนับสนุนการประเมินความเสียหายและความต้องการในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ  รวมทั้งสนับสนุนภารกิจกู้ภัยและการบรรเทาทุกข์ในระยะเริ่มต้น  ตลอดจนเสริมสร้างการบริหารจัดการภัยพิบัติและการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในระยะยาว
  • ธนาคารโลกได้ใช้เงินส่วนหนึ่งของเงินให้เปล่านี้ซื้อเรือกู้ภัยและจัดส่งให้กับรัฐบาลแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคมที่ผ่านมา
  • ด้วยความช่วยเหลือจากประเทศผู้บริจาค   เรากำลังเตรียมการที่จะใช้กองทุน Multi-Donor Trust Fund ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อช่วยเหลือภูมิภาคแถบตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานในการช่วยเหลือ บูรณะ และฟื้นฟู
  • เราทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อปรับเปลี่ยนเป้าหมายของโครงการที่วางแผนไว้แล้วและทบทวนโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน  เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะผันเงินทุนสำหรับโครงการดังกล่าวไปใช้ในกิจกรรมด้านการบูรณะฟื้นฟู   เรื่องเร่งด่วนที่เราได้ตกลงกับรัฐบาลไว้ได้แก่
          - การโยกย้ายเงินทุนที่ยังไม่ได้เบิกจ่าย 10 ล้านเหรียญสหรัฐไปให้หน่วยงานเพื่อการบริหารจัดการสาธารณภัยแห่งปากีสถาน   เพื่อให้หน่วยงานสามารถจัดสรรเงินทุนเพิ่มเติมที่เบิกจ่ายได้รวดเร็วสำหรับการนำเข้าปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูและบูรณะ  เช่น เชื้อเพลิง เหล็ก ปูนซีเมนต์และสินค้าและบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
           - การเร่งการจัดส่งและการขยายหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินสำหรับ Khyber Paktunkhwa (KP)/พื้นที่ชนเผ่าที่บริหารโดยรัฐบาลกลาง (Federally Administered Tribal Areas) เพื่อให้ครอบคลุมเขตท้องที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม
            - ร่วมกับรัฐบาลเพื่อสร้างหลักประกันว่าเงินช่วยเหลือภัยพิบัติที่ได้รับจะถูกนำไปใช้ตรงตามจุดประสงค์
  • ธนาคารโลกสนับสนุนการฟื้นฟูเขื่อนกั้นน้ำ Taunsa Barrage (เครื่องกีดขวางประดิษฐ์สำหรับการลดความเสี่ยงจากน้ำทะเลท่วม) ในจังหวัดปัญจาบ ซึ่งอาจมีส่วนช่วยทำให้สามารถต้านน้ำที่ท่วมลงมาจากแม่น้ำในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้
  • นอกเหนือจากการทำการประเมินความต้องการและความช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวเพื่อการบูรณะฟื้นฟูในระยะยาวแล้ว ในอนาคตธนาคารโลกมีแผนการที่จะให้ความช่วยเหลืออื่นๆ เพื่อซ่อมแซมและบูรณะโครงสร้างทางสาธารณูปโภคบนแม่น้ำ Indus เพื่อสนับสนุนการป้องกันน้ำท่วมในอนาคต
            - คณะกรรมการบริหารของธนาคารโลกอนุมัติเงินช่วยเหลือเพื่อการบูรณะเขื่อนกั้นน้ำJinnah Barrage ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2553
             - ธนาคารโลกยังได้ให้เงินสนับสนุนการปรึกษาด้านการออกแบบเพื่อการบูรณะเขื่อนกั้นน้ำอีกสองแห่งใน Sindh อีกด้วย
สื่อมวลชนโปรดติดต่อ
ซัสเกีย สเตชแมน
โทร: +1 (202) 473-4227
sstegeman@worldbank.org



Api
Api

Welcome