ข่าวประชาสัมพันธ์

ธนาคารโลกเปิดให้สาธารณชนเข้าถึงข้อมูลด้านการพัฒนาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553



  • กลุ่มธนาคารโลกเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึงข้อมูลสถิติเกี่ยวด้านการพัฒนาทั้งด้านการเงิน ธุรกิจ สาธารณสุข เศรษฐกิจ และการพัฒนามนุษย์กว่า 2,000 หัวข้อโดยผ่านเว็บไซต์ data.worldbank.org โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • ตัวชี้วัดด้านการพัฒนา 330 หัวข้อได้รับการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส สเปน และอารบิก
  • ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่านโยบายการเปิดเผยข้อมูลจะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม ตลอดจนการกำหนดนโยบายเชิงประจักษ์

20 เมษายน 2553 –กลุ่มธนาคารโลกได้ทำการเปิดเผยสถิติด้านการเงิน ธุรกิจ สาธารณสุข เศรษฐกิจ และการพัฒนามนุษย์กว่า 2,000 หัวข้อแก่ผู้ใช้ทั่วไปโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ที่ผ่านมาข้อมูลเหล่านี้จะได้รับการเปิดเผยต่อผู้ที่เป็นสมาชิกและจ่ายค่าธรรมเนียมในการบอกรับฐานข้อมูลเท่านั้น

การตัดสินใจดังกล่าว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในอันที่จะเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลของธนาคารโลกให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัย สื่อมวลชน องค์กรที่มิใช่ภาครัฐ นักลงทุน รวมไปถึงนักเรียนนักศึกษาสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของธนาคารโลกโดยผ่านทางเว็บไซต์  data.worldbank.org ได้

ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายกล่าวว่าความริเริ่มในการเข้าถึงข้อมูลของธนาคารโลกในครั้งนี้ มีศักยภาพที่จะกระตุ้นให้เกิดการกำหนดนโยบายเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Policy) ขึ้นได้ในประเทศกำลังพัฒนา โดยการนำนักวิจัยและการวิเคราะห์เชิงนวัตกรรมเข้าสู่กระบวนการพัฒนาได้เพิ่มมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยกล่าวว่า การที่ธนาคารโลกเปิดให้มีการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในครั้งนี้ยังอาจกระตุ้นให้เกิดความต้องการข้อมูล อีกทั้งยังจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศต่างๆ ในการจัดทำข้อมูลอีกด้วย

นอกจากนี้ ตัวชี้วัด 330 หัวข้อยังได้ถูกแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส สเปน และอารบิก นับเป็นครั้งแรกที่ตัวชี้วัดได้มีการแปลเป็นภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ

ธนาคารโลกกล่าวว่า “นับเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องดำเนินการให้ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงข้อมูลและความรู้ของธนาคารโลก ได้

ข้อมูลเพื่อนวัตกรรมและเสริมสร้างความเข้มแข็ง

นายฮานส์ โรสลิง ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิแก็ปไมนเดอร์ (Gapminder Foundation) และเป็นผู้หนึ่งที่สนับสนุนการดำเนินการเพื่อการเข้าถึงข้อมูลของธนาคารโลกอย่างแข็งขัน กล่าวว่า “การดำเนินการเรื่องนี้นับเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะการเข้าถึงข้อมูลจะสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุด

นายโรสลิงกล่าวว่า เขาหวังว่า การเคลื่อนไหวดังกล่าวจะสร้างแรงบันดาลใจให้มีการสร้างเครื่องมือต่างๆ ที่จะช่วยให้คนทั่วไปสามารถเห็นข้อมูลได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นแบบอย่างให้กับสถาบันระหว่างประเทศอื่นๆ ด้วย

นายอาลีม วัลจิ  ผู้จัดการการปฏิบัติเพื่อนวัตกรรมใหม่ของสถาบันธนาคารโลก กล่าวเพิ่มเติมว่า  “พลังที่แท้จริงของการเข้าถึงข้อมูล ได้แก่ โอกาสอันยิ่งใหญ่ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้กลายเป็นความรู้และการนำไปใช้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์เพื่อเพิ่มพูนความโปร่งใส ซึ่งในท้ายที่สุด จะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับทุกๆ ฝ่ายในกระบวนการพัฒนา” เขายังได้กล่าวต่อไปอีกว่า “การเข้าถึงข้อมูลอย่างกว้างขวางและปราศจากค่าใช้จ่ายจะเป็นการให้พลังอำนาจแก่ให้ประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงในกระบวนการพัฒนาได้มากขึ้น

แอพพลิเคชั่น (Application) ที่มีศักยภาพนี้จะต้องสามารถ “ผสมผสาน” หรือรวบรวมชุดข้อมูลซึ่งมีข้อมูลจากตัวชี้วัดในฐานข้อมูลการพัฒนาโลกของธนาคารโลก (World Development Indicator - WDI) ให้เข้ากับข้อมูลในระดับย่อยๆ เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือในแต่ละประเทศ เพื่อแสดงให้เห็นว่าความช่วยเหลือจากระดับนานาชาติสามารถตอบสนองความต้องการของภาคส่วนที่ยากจนและด้อยโอกาสในสังคมได้มากเพียงใด


นายวัลจิ ยังได้กล่าวอีกว่า ธนาคารโลกจะเปิดตัวโครงการที่มีความท้าทายชื่อว่า “Apps for Development” ในปลายปีนี้ เพื่อกระตุ้นให้นักพัฒนาซอฟแวร์ทั่วโลกได้รับประโยชน์จากการ “เปลี่ยนชุดข้อมูลให้เป็นแอพพลิเคชั่นใหม่เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการจัดการกับความท้าทายด้านการพัฒนาที่กำลังประสบอยู่ อาทิ อัตราการเสียชีวิตของทารก การอ่านออกเขียนได้ รวมไปถึงความยากจนในระดับรุนแรง

ผู้คนจะได้เห็นข้อมูลเพิ่มมากขึ้น

นักวิจัย ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลายฝ่ายกล่าวว่า การตัดสินใจของธนาคารโลกในการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลลัพธ์อันใหญ่หลวงตามมา

แน่นอนว่า เหตุผลก็คือ เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตของเราคือข้อมูลนายเจมส์ ฟอสเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งทำการวิจัยเกี่ยวกับการชี้วัดความยากจน แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน กล่าว “การได้มองเห็นโลกได้อย่างที่มันเป็นจริงๆ และบอกกล่าวให้ผู้อื่นได้ทราบถึงการตีความของเราตามสิ่งที่เราเห็น เป็นสิ่งซึ่งเรากำลังพยายามเพื่อให้เกิดขึ้น

นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลในครั้งนี้ยังจะส่งผลทางอ้อมหรือทางตรงต่อความเป็นอยู่ของประชาชนผู้ยากไร้ทั่วโลก หากเราได้รับข้อมูลเพิ่มมากขึ้นจะช่วยให้นโยบายต่างๆ ที่เรากำลังพยายามทำให้ถูกต้องอยู่นี้จะดีขึ้นมาก และในขณะนี้ก็มีผู้คนเป็นจำนวนมากที่กำลังได้รับทราบข้อมูลเหล่านั้นอยู่” นายฟอสเตอร์ กล่าว

ในประเทศโมร็อคโค นายอับเด็ลคาเล็ค โทฮามิ นักเศรษฐศาสตร์และนักสถิติ จากสถาบันสถิติและเศรษฐศาสตร์ประยุกต์แห่งชาติ (Institut National de Statistique at d’Economie Appliquee – INSEA) กล่าวว่า ความริเริ่มของธนาคารโลกในครั้งนี้จะช่วย “กำจัดอุปสรรคที่สำคัญ” ออกไปได้ “การให้โอกาสนักวิจัยในการเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพ ซึ่งอยู่ในภาษาที่พวกเขาสามารถทำความเข้าใจได้ จะช่วยให้วิจัยของพวกเขาเหล่านี้มีคุณภาพที่สูงยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลของตนเองด้วยเช่นกัน” นายโทฮามิ กล่าว

โดยทั่วๆ ไปนั้น ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนได้รับทราบในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นการยากที่จะเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ ด้วยเหตุนี้ ความริเริ่มในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นการส่งสัญญาณไปยังรัฐบาลว่า รัฐจำเป็นจะต้องดำเนินการช่วยเหลือให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปอย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น” นายโทฮามิ กล่าว

นายไมเคิล เทียร์นีย์ ผู้ประสานงานโครงการความริเริ่ม Aiddata ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบตรวจติดตามการใช้จ่ายเพื่อการพัฒนา กล่าวว่า ความโปร่งใสที่เพิ่มขึ้นของข้อมูลจากประเทศต่างๆ นี้ จะช่วยส่งเสริมให้มีการประสานงานด้านการบริจาคเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

หากว่าคุณสามารถทำให้ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มประเทศที่ไม่ได้อยู่ภายใต้องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เกิดความเชื่อมั่นว่าความโปร่งใสนั้นจะส่งผลที่ดีต่อประเทศ จะส่งผลทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ทำการศึกษาความช่วยเหลือจากต่างประเทศเช่นผม หรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ประสานงานด้านการให้ความช่วยเหลือในโครงการต่างๆ เช่น โครงการด้านน้ำในกัวเตมาลา  เนื่องจากว่าประเทศที่ให้ความช่วยเหลือเหล่านั้นต้องการทราบว่าในประเทศรัสเซียหรือจีนนั้น มีการดำเนินการโครงการด้านน้ำกันอย่างไร” นายเทียร์นีย์ กล่าว

การเข้าถึงข้อมูลของประเทศต่างๆ กว่า 200 ประเทศ

data.worldbank.org เป็นเว็บไซต์ใหม่ของธนาคารโลกได้มีการเปิดให้มีการเข้าถึงข้อมูลของกว่า 209 ประเทศ โดยที่ข้อมูลบางหัวข้อนั้นย้อนหลังไปถึง 50 ปี ผู้ใช้งานจะสามารถดาวน์โหลดชุดข้อมูลทั้งหมดของประเทศใดประเทศหนึ่งหรือตัวชี้วัดใดๆ เข้าถึงข้อมูลดิบได้อย่างรวดเร็ว แสดงความคิดเห็นที่มีต่อข้อมูลผ่านเว็บไซด์ ตลอดจนส่งอีเมล์และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคมต่างๆ ได้” นายนีล แฟนทอม นักสถิติอาวุโสของธนาคารโลก กล่าว

เว็บไซต์ดังกล่าวมีประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานทุกกลุ่ม กล่าวคือ เว็บไซต์สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้งานที่ “มีเวลาเพียง 1 นาทีและทราบแน่ชัดว่าตนต้องการข้อมูลอะไร ไปจนถึงผู้ใช้งานที่ต้องการทำวิจัยและสำรวจฐานข้อมูล หรือแม้กระทั่ง นักพัฒนาโปรแกรมที่ต้องการเชื่อมต่อเข้ากับฐานข้อมูลโดยตรง หรือเพื่อทำสิ่งที่เรียกว่า “การดาวน์โหลดฐานข้อมูลทีละหลายๆ ไฟล์ (Bulk download)” และก็นำข้อมูลไปใช้ได้อย่างง่ายดาย” นายไชดา บาดิเอ ผู้อำนวยการกลุ่มข้อมูลด้านการพัฒนาของธนาคารโลก กล่าว

แนวทางที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น

ในการเปิดให้เข้าถึงฐานข้อมูลครั้งนี้ กลุ่มธนาคารโลกได้เข้าร่วมแนวทางการเปิดเผยข้อมูลที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรกำลังดำเนินการเปิดเผยข้อมูลของรัฐบาลให้สาธารณชนได้รับทราบ นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังได้ร่วมมือกับกูเกิ้ลในการทำให้ตัวชี้วัดทั้ง 39 ข้อ สามารถค้นหาและเข้าถึงได้ผ่านกูเกิ้ลได้ง่ายมากที่สุดเมื่อไม่นานมานี้

เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติการเข้าถึงข้อมูลในครั้งนี้นางนิโคล ฟรอสต์ หนึ่งในแกนนำในความพยายามที่จะทำให้เว็บไซต์ของธนาคารโลกมีความทันสมัยมากขึ้น กล่าว

เราจะมีผู้ใช้ข้อมูลกลุ่มใหม่ๆ  นักเรียนมัธยมปลายในเดส โมนส์ (ไอโอวา) ดาการ์ (เซเนกัล) และไคโร (อิยิปต์) จะได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลของธนาคารโลก ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลของเราผ่านการสืบค้นจากโปรแกรมค้นหาบนอินเตอร์เนต อาทิ Google หรือ Yahoo ซึ่งจะทำให้เราสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานที่ไม่เคยมีมาก่อน และเราหวังว่ากลุ่มผู้ใช้งานเหล่านี้จะยังคงค้นหาข้อมูลของเราต่อไป ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นด้านการพัฒนา รวมทั้งประเด็นอื่นๆ ที่เป็นพันธกิจขององค์กรแห่งนี้

ธนาคารโลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติ

ความริเริ่มในการเปิดให้ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึงข้อมูลในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการเผยแพร่ข้อมูลของธนาคารโลก กล่าวคือ ก่อนหน้านี้ธนาคารโลกเคยพึ่งพาเครือข่ายของผู้เผยแพร่ข้อมูลเอกชนเพื่อให้นำข้อมูลของทางธนาคารไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ 1,000 เว็บ ซึ่งมีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนจำนวน 25 ล้านคนทั่วโลก ตัวชี้วัดการพัฒนาโลก (WDI) – ซึ่งเป็นข้อมูลด้านการพัฒนามนุษย์ รวมทั้งข้อมูลอื่นๆที่ได้รับความนิยมและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย – ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ในรูปแบบซีดีรอมและแผ่นดิสก์

"Now we’re changing course and we’re going to attempt a much different distribution process that relies much more on having people come to us rather than our going out to people and seeing what kind of use they make of the data," says Eric Swanson, program manager and leader of the global monitoring cluster in the World Bank's Development Data Group.

ขณะนี้ เรากำลังเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติ และจะพยายามดำเนินกระบวนการเผยแพร่ข้อมูลซึ่งแตกต่างออกไปเป็นอย่างมาก ที่เน้นให้ผู้ใช้งานเข้ามาหาเรามากกว่าที่ทางธนาคารจะออกไปหาผู้ใช้งานและดูว่าพวกเขามีความคิดเห็นต่อข้อมูลของเราอย่างไรนายอีริค สแวนสัน ผู้จัดการโครงการและผู้นำกลุ่มตรวจติดตามโลก (Global Monitoring Cluster) ของกลุ่มข้อมูลเพื่อการพัฒนาของธนาคารโลก กล่าว

ประชาชนทุกวันนี้มีทักษะในการเข้าถึงข้อมูล ผสมผสานข้อมูล รวมทั้งนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์” นายแฟนทอม กล่าวเพิ่มเติม “เมื่อคุณมองไปที่ความสำเร็จของนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นบางคน ก็จะพบว่าพวกเขาใช้ข้อมูลจากบุคคลที่สาม (Third-party data) อีกทั้งเราเองก็ต้องการที่จะได้รับประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมดังกล่าว และเราก็เห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นแบบอย่างในการขยายขอบเขตของการนำข้อมูลไปใช้

ผมหวังจะได้เห็นว่าการเข้าถึงข้อมูลในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการใช้ข้อมูลในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะส่งเสริมการกำหนดนโยบายเชิงประจักษ์ในประเทศสมาชิก ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดความต้องการข้อมูล เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของประเทศในการสร้างข้อมูลเหล่านี้” นายแฟนทอม กล่าวเสริม

นางซาบินา อัลไคร์ ผู้อำนวยการโครงการความริเริ่มด้านความยากจนและพัฒนามนุษย์แห่งออกซ์ฟอร์ด มีความรู้สึกว่าตนเองโชคดี ที่ได้รับซีดีรอมซึ่งบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัดการพัฒนาโลก เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา “ฉันคงไม่มีกำลังพอที่จะซื้อหาซีดีรอมนี้มาได้

นางอัลไคร์ ว่าเธอหวังว่านโยบายใหม่ของธนาคารโลกเรื่องการเข้าถึงข้อมูลจะนำไปสู่ปรับข้อมูลด้านความยากจนให้เป็นปัจจุบันบ่อยครั้งขึ้น รวมทั้งนวัตกรรมต่างๆ ที่เพิ่มจำนวนขึ้นด้วย

ยิ่งผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากเท่าไร พวกเขาก็จะยิ่งสามารถมีปฏิสัมพันธ์ นึกถึง จดจำ จำแนกแยกแยะ ตลอดจนทำการทดลองกับข้อมูลได้มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเป็นอย่างมาก เนื่องจากในเข้าถึงข้อมูลนั้นจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จากหลายฝ่าย เพื่อให้สามารถสร้างและเปลี่ยนแปลง นำข้อมูลไปใช้ในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนค้นหาว่าจะสามารถมีวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่น่าสนใจยิ่งขึ้นได้หรือไม่ด้วย

สื่อมวลชนโปรดติดต่อ
บุณฑริกา แสงอรุณ
โทร: (02) 686-8326
bsangarun@worldbank.org


Api
Api

Welcome