เรื่องเด่น

นวัตกรรม ทักษะ และการสร้างงานในประเทศไทย

วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2555


เรื่องเด่น
  • ภาวะขาดแคลนทักษะของแรงงานกำลังเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับการทำธุรกิจในประเทศไทย
  • ประเทศไทยได้ลงมือปฏิรูปเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของทักษะในการทำงาน เพื่อให้เกิดงานที่ดีกว่า และสร้างรายได้ให้มากกว่า
  • การฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดด้วยตัวเอง การลงทุนกับการพัฒนาครู และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษาและผู้ที่มีโอกาสที่จะเป็นนายจ้างในอนาคต ล้วนเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จนี้

กรุงเทพฯ 22 มีนาคม 2555 -- อรณิชา ตันติเวชวุฒิกุล กำลังจะเรียนจบจากมหาวิทยาลัยปีสุดท้าย และออกมาหางานทำ เช่นเดียวกับบัณฑิตใหม่อีกนับพันในปีนี้ นอกจากปริญญาด้านเศรษฐสาสตร์แล้ว เธอยังมีประสบการณ์จากการฝึกงานและการเรียนวิชาเสริมพิเศษอีกด้วย

“สิ่งที่ฉันเรียนในหลักสูตรนั้นเต็มไปด้วยทฤษฏี ฉันจึงตัดสินใจเรียนเพิ่มวิชาการตลาดและการเงินซึ่งใช้ได้จริงในการทำงานมากกว่า ฉันคิดด้วยว่าจะไปฟังการอบรมฟรีที่ตลาดหลักทรัยพ์แห่งประเทศไทย สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ฉันได้งานที่หวังไว้หลังจากเรียนจบ ซึ่งอาจจะเป็นตำแหน่งในบริษัทการตลาด หรือธนาคาร” อรณิชากล่าว

การศึกษาที่ดี เป็นบ่อเกิดของทักษะ

โดยการเพิ่มทักษะที่จำเป็น นักเรียนไทยอย่างอรณิชาได้เพิ่มแต้มต่อให้ตัวเองในตลาดงาน ประเทศไทยได้ตระหนักว่าการศึกษาที่ดี คือการผลิตแรงงานออกมามีทักษะและความสามารถเป็นที่ต้องการของนายจ้าง ประเทศไทยได้ประกาศใช้ แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งมุ่งที่จะพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้ทันสมัย

“รัฐบาลไทยได้วางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศอย่างถูกจุด นั่นคือ การให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทักษะและความคิดสร้างสรรค์ของคนในประเทศเป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้และลดความยากจน” ฮาร์นา บริซิ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส และผู้เขียนหลักของรายงานธนาคารโลกชื่อ การก้าวนำโดยความคิด: ทักษะสำหรับการเติบโตและความเท่าเทียมในประเทศไทย

เธอยังเสริมอีกว่า “ประเทศไทยเป็นสถานที่ที่เหมาะกับการทำธรุกิจ ไทยมีสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพ และเป็นที่ดึงดูดนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ประเทศที่มีให้หุ้นส่วนต่างชาติแค่แรงงานดีและราคาถูก ก็จะแพ้คู่แข่งอย่างประเทศที่มีแรงงานที่มีการศึกษาดีกว่าและมีการฝึกฝนมามากกว่า ภาวะขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในการทำธุรกิจในประเทศไทย

การปฏิรูปและนวัตกรรม

ธนาคารโลกกำลังสนับสนุน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการหาแนวทางที่เป็นไปได้สำหรับการพัฒนาทักษะและนวัตกรรม

  • เริ่มอย่างถูกต้อง – โรคขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหารุนแรงของประเทศไทย เด็กที่เป็นโรคขาดสารไอโอดีนจะมีสติดปัญญาด้อยกว่าเด็กปกติ ทำให้เกิดผลเสียต่อศักยภาพในการเรียนรู้และความสามารถอื่นๆ ในอนาคต การเข้ามาแก้ปัญหาโดยรัฐโดยการใช้กฎหมายหรือกฎระเบียบเพื่อให้เกลือบริโภคทุกชนิดมีการเสริมไอโอดีนจะสามารถลดจำนวนเด็กที่เป็นโรคขาดสารไอโอดีนได้
  • สนับสนุนนักเรียนให้สร้างสรรค์นวัตกรรม – นักเรียนไทยสามารถแก้ปัญหาทางเทคโนโลยีได้ดีขึ้น หากโรงเรียนช่วยเป็นตัวประสานให้พวกเขาเข้ากับตลาดแรงงาน การให้เครื่องมือในการเสาะหาและนำความรู้ใหม่มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะเป็นการช่วยอีกทางหนึ่ง

“ฉันได้ไปโครงการแลกเปลี่ยนที่สหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว และสังเกตว่า นักเรียนที่นั่นมีการคิดวิเคราะห์ที่ดีกว่า พวกเขาเปิดรับกับความคิดใหม่ๆ และไม่จำเป็นจะต้องยอมรับหรือเชื่อตามสิ่งที่ครูสอน พวกเขากล้าที่จะท้าทายอาจารย์ ส่วนเรา (นักเรียนไทย) มีแนวโน้มที่จะขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ ฉันคิดว่ามันมาจากระบบการศึกษาที่เราได้รับมาตั้งแต่ชั้นประถม เราไม่ได้ถูกสอนให้คิดนอกกรอบเลย” อรณิชากล่าว

  • ลงทุนกับครู – ผู้ว่าจ้างได้รายงานถึงการขาดทักษะอย่างรุนแรง ในด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ไอที การทำธุรกิจ และทักษะการคิดทั่วๆ ไป การพัฒนาคุณภาพครูจึงควรมีการเน้นในด้านต่างๆ ดังกล่าว

เนื่องจากคุณภาพของครูเป็นเรื่องสำคัญมาก นักเรียนที่เก่ง ควรได้รับการสนับสนุนให้ไปเป็นครู การเพิ่มทุนการศึกษาก็อาจเป็นวิธีหนึ่งที่จะกระตุ้นให้นักเรียนระดับหัวกะทิเลือกมาทำงานสอนได้

  • เชื่อมโยงสถาบันการศึกษาและศูนย์ฝึกอบรมให้กับนายจ้างในอนาคต – เราสามารถสร้างความร่วมมือต่างๆ ได้ในหลายรูปแบบ เช่น โครงการวิจัยร่วม การให้ผู้ว่าจ้างมีส่วนร่วมในการปรับปรุงหลักสูตรการสอน และหลักสูตรอบรมระยะสั้นของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาลูกจ้าง
  • ทำให้การศึกษามีคุณภาพทั่วทั้งประเทศ – การปรับปรุงระบบการสอบและการออกใบรับรองจะสามารถทำให้นายจ้างจัดหาข้อมูลที่ลูกจ้างผ่านการฝึกอบรมมาได้ชัดเจนขึ้น ประเทศไทยกำลังพิจารณาใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ซึ่งจะบัญญัติคุณวุฒิ รับรองทักษะ และตั้งเกณฑ์มาตรฐานสำหรับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา

การปรับปรุงคุณภาพการศึกษาระดับประถมและมัธยมในชุมชนที่มีโอกาสน้อย ก็จะช่วยเพิ่มจำนวนของลูกจ้างที่มีคุณภาพของประเทศได้ ด้วยการนี้ก็จะช่วยเพิ่มปริมาณตัวเลือกผู้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยให้มากกว่าแค่ผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร

  • ปฏิบัติงานและประสานงานให้เกิดความคล่องแคล่ว ระหว่างหน่วยงานการศึกษาต่างๆ นี่จะช่วยดึงประสิทธิภาพของนโยบายและภารกิจออกมา นอกจากนี้การให้ผู้ปกครองมามีส่วนร่วมก็ยังจะช่วยพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนได้อีกทางด้วย

Api
Api

Welcome