ข่าวประชาสัมพันธ์

ธนาคารโลกห่วงการเสียโอกาสจากภัยพิบัติกระทบการขจัดความยากจนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก

วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556



การลงทุนในการเตรียมความพร้อมจะช่วยรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยครอบคลุม


กรุงเทพ, 3 มิถุนายน 2556 รายงานการศึกษาจากธนาคารโลกชี้ว่า ปัจจุบันเมืองใหญ่หลายเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกมีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสูงขึ้น เนื่องมาจากการขาดการวางแผนจัดการเมืองที่ดี ส่งผลให้เกิดการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งๆ ที่ภูมิภาคนี้กำลังเติบโตมั่งคั่งขึ้น ดังนั้นผู้วางนโยบายในการบริหารประเทศจึงควรไม่ให้การพัฒนาประเทศและการขจัดความยากจนขาดตอนไป ด้วยการสร้างการเตรียมความพร้อม ณ บัดนี้ แล้วจะมีความชัดเจนว่า การลงทุนกับการรับมือภัยพิบัติ ตั้งแต่การพยากรณ์ที่แม่นยำ ไปจนถึงการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ เป็นสิ่งที่คุ้มทุนอย่างยิ่ง

“ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตะวันออก มักต้องเผชิญกับพายุไซโคลน สึนามิ แผ่นดินไหว และน้ำท่วมอยู่เสมอ ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเตรียมการที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายของภัยพิบัติที่คาดไม่ถึงเหล่านี้ พร้อมทั้งดำเนินแผนการลงทุนหลักๆ ในการจัดการความเสี่ยงและการฟื้นตัวจากภัยพิบัติ” Axel van Trotsenburg รองประธานธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าวซึ่งการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ  ควรจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานขจัดความยากจนและการพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจากคนยากจนเป็นกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติมากที่สุดมากกว่ากลุ่มอื่นๆ”

จากรายงานในหัวข้อ “ความเข้มแข็ง ความปลอดภัย และความสามารถในการฟื้นตัว แนวทางนโยบายเชิงยุทธศาสตร์สำหรับการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก” (Strong, Safe and Resilient – A Strategic Policy Guide for Disaster Risk Management in the East Asia and the Pacific) ระบุว่าประชากรจำนวนมากกว่า 1,600 พันล้านคนในภูมิภาคนี้ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติตั้งแต่ปี 2543 อีกทั้ง ในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา การสูญเสียโอกาสจากภัยพิบัติในภูมิภาคนี้คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 61 ของอัตราการสูญเสียทั่วทั้งโลก ในขณะเดียวกัน ความสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจจากภัยธรรมชาติได้ขยายตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทั่วทั้งโลก ด้วยมูลค่าที่สูงขึ้น 15 เท่าในช่วงทศวรรษที่ 1990 เมื่อเทียบกับช่วง 1950 อีกทั้งปี 2554 ยังถือว่าเป็นปีที่มีมูลค่าความสูญเสียสูงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา ในทางเปรียบเทียบกันแล้วพบว่าประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบสูงที่สุด โดยความสูญเสียเฉลี่ยต่อปีสำหรับประเทศวานูอาตู ประเมินไว้ที่ร้อยละ 6.6 และ ประเทศตองกา ร้อยละ 4.4 ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GDP)

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและภาวะการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความเป็นเมือง ผนวกกับการกระจุกตัวของประชากรและสินทรัพย์ในเมืองต่างๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นเช่นนี้ต่อไป แต่การที่ขาดการวางแผนเมืองอย่างรอบคอบยิ่งทำให้ชุมชนตกอยู่ในภาวะความเสี่ยง โดยเฉพาะเมื่อมีการตั้งถิ่นฐานที่ไม่เป็นทางการและมีการจัดการที่ดินอย่างไม่เหมาะสม ยิ่งในเวลานี้เมื่อเอเชียกำลังกลายเป็นที่ตั้งของมหานครจำนวน 21 แห่งจากมหานคร 37แห่งของโลกภายในปี 2568 มูลค่าความสูญเสียทางโอกาสจากภัยพิบัติจำนวนมหาศาลที่สูงถึงหลายพันล้านเหรียญอาจพบเจอบ่อยครั้งมากขึ้น

ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศในภูมิภาคกำลังต้องเผชิญกับผลกระทบอย่างรุนแรงทางด้านรายจ่ายสาธารณะ เมื่อรัฐบาลจำเป็นต้องแบกรับความรับผิดชอบด้านการเงินที่เพิ่มสูงขึ้นในการบูรณะและฟื้นฟูผลกระทบจากภัยพิบัติ ในประเทศหมู่เกาะโซโลมอน ซึ่งเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิในปี 2550 นั้น มูลค่าความสูญเสียสูงถึงประมาณร้อยละ 95 ของงบประมาณประเทศ ส่วนในกัมพูชา ลาว และฟิลิปินส์ มูลค่าความสูญเสียอาจสูงถึงร้อยละ 18 หรือมากกว่านั้นของรายจ่ายสาธารณะ สำหรับภัยพิบัติในช่วง 200 ปี ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของภัยพิบัติในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องน้ำท่วมที่เกิดบ่อยครั้งขึ้น มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น และส่งผลกระทบต่อภูมิภาคอื่น เป็นการเตือนว่า ถึงเวลาแล้วสำหรับมาตรการที่เร่งด่วน

“เรากำลังร่วมมือกับรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ในการปรับปรุงระบบการเงินให้พร้อมที่จะรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ” หัวหน้านักเศรษศาสตร์ประจำธนาคารโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก Bert Hofman กล่าว “และยังมีสิ่งจำเป็นอีกมากที่ต้องทำเพื่อปรับปรุงเครื่องมือการสร้างแบบจำลองความเสี่ยงในการคาดการณ์ภัยพิบัติ เพื่อที่จะช่วยให้รัฐบาลเหล่านั้นประเมินผลกระทบด้านการเงินที่เกิดขึ้น และเพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์ด้านการเงินการคลังในการรับมือความเสี่ยงจากภัยพิบัติ”

สิ่งที่มักไม่รู้กันคือว่า การลงทุนในเรื่องการลดความเสี่ยงและการเตรียมรับมือภัยพิบัตินั้นมีความคุ้มค่าอย่างยิ่ง และส่งผลอย่างสูงต่อการลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติ

มาตรการในระยะสั้น การลงทุนในระบบพยากรณ์เหตุร้ายและระบบการเตือนภัยของอุตุนิยมวิทยาอุทกนั้นถือว่า ให้ผลตอบแทนการลงทุนที่สูง ซึ่งจะเห็นผลในทันทีอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ในส่วนการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางกฎหมายและการประสานความร่วมมือของสถาบันต่างๆ อีกทั้งการส่งเสริมโครงการพัฒนาระดับชุมชนเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ล้วนเป็นแผนงานที่จะเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น

มาตรการในระยะปานกลางถึงระยะยาว การสร้างความสมดุลย์ระหว่างการลงทุนในโครงสร้างทางวัตถุ และที่นอกเหนือจากงานโครงสร้างนั้นเป็นกุญแจสำคัญ สิ่งนี้ครอบคลุมถึงโครงสร้างพื้นฐาน “สีเทา” ทางวัตถุ เช่นคอนกรีต และโครงสร้าง “สีเขียว” ที่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ดังเช่นการฟื้นฟูป่าชายเลน การบูรณะพื้นที่ชุ่มน้ำและชายฝั่ง ในส่วนการขยายการเตือนภัยเบื้องต้น ซึ่งอ้างอิงข้อมูลจากเวลาจริงและการพยากรณ์ก็ยังคงมีความสำคัญ ทั้งนี้ควรมีการเตรียมการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการเงินการคลังต่อความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และระบบการคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุมไปถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น

มาตรการในระยะยาว การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองนั้นควรได้รับการบริหารจัดการ ด้วยการใช้ข้อมูลประเมินการจัดการความเสี่ยง มีการวางแผนและพัฒนาเมืองที่คำนึงถึงความเสี่ยงด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบ รวมทั้งการตัดสินใจที่แน่วแน่ที่คำนึงถึงภัยพิบัติ ความเสี่ยงด้านภูมิอากาศต่างๆ และความแปรปรวนที่อาจเกิดขึ้น

“ภัยธรรมชาติทุกครั้งไม่จำเป็นต้องกลายเป็นภัยพิบัติเสมอไป ด้วยการจัดการที่ดีขึ้นและความร่วมมือช่วยเหลือกัน การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเมืองสามารถเป็นพลังผลักดันทิ่ยิ่งใหญ่สำหรับการพัฒนาประเทศ และเปิดโอกาสให้สนองตอบต่อความต้องการของคนยากจนในเมือง ซึ่งมักต้องเผชิญกับความเสี่ยงระดับสูงสุด” Abhas Jha ผู้จัดการหน่วยงานการขนส่ง ตัวเมือง และ การจัดการความเสี่ยงจากอุบัติภัยประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก Abhas Jha เป็นหัวหน้าคณะนักเขียนผู้จัดทำรายงานเรื่อง ความจำเป็นของการประเมินความเสี่ยงด้านภัยพิบัติต่อความพยายามในการขจัดความยากจนและการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Disaster risk management needs to be part of core povery reduction and sustainable development efforts) 

ดาวน์โหลดรายงานที่ Strong, Safe and Resilient – A Strategic Policy Guide for Disaster Risk Management in the East Asia and the Pacific

 

เฟสบุ๊ค: www.facebook.com/worldbank
ทวิตเตอร์: www.twitter.com/worldbankasia
ยูทูบ: www.youtube.com/worldbank

 

สื่อมวลชนโปรดติดต่อ
ใน กรุงเทพฯ
Paul Risley
prisley@worldbank.org
ใน วอชิงตัน
Diana Chung
dchung1@worldbank.org



Api
Api

Welcome