ข่าวประชาสัมพันธ์

บทบาทของแอฟริกากำลังเพิ่มขึ้นในยามที่ฐานของโลกได้รับการค้ำจุนจากหลายขั้วอำนาจ

วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553



  • นางนโกซี โอคอนโย-อีเวอาลา กล่าวว่า แอฟริกากำลังจะเข้าร่วมกลุ่มประเทศบริกส์ (BRICs) ซึ่งประกอบด้วยประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ในฐานะภูมิภาคปลายทางของการลงทุน

  • ทวีปแอฟริกาจะได้รับประโยชน์จากการที่สิทธิเสียงของตนในสถาบันเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศอย่างธนาคารโลกเพิ่มมากขึ้น  รวมทั้งการที่ประเทศในแถบตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นอีกในคณะกรรมการบริหารของธนาคารโลก

  • ชาวแอฟริกันที่ดำรงตำแหน่งอาวุโสในธนาคารโลก  จะเป็นเสียงที่สำคัญต่อการปฏิรูปสถาบัน

27 พฤษภาคม 2553นางนโกซี โอคอนโย-อีเวอาลา กรรมการผู้จัดการธนาคารโลกได้ตั้งคำถามและร่วมแลกเปลี่ยน “แนวคิดอันยิ่งใหญ่” กับศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮาวาร์ด

เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศใดที่มีมูลค่านับล้านล้านเหรียญฯ มีการเติบโตรวดเร็วกว่าประเทศบราซิลและอินเดียในช่วงปี 2543 ถึง 2553 … และยังได้รับการทำนายโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) ว่าจะเติบโตเร็วกว่าบราซิล ในระหว่างปี 2553 ถึง 2558"

เมื่อได้ยินคำตอบแล้วคุณอาจจะประหลาดใจ  เพราะกลุ่มประเทศที่ว่านั้นอยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าในทวีปแอฟริกา

แนวคิดอันยิ่งใหญ่” ที่อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและกระทรวงการต่างประเทศแห่งไนจีเรียท่านนี้ต้องการสื่อออกไปก็คือ  ในปัจจุบัน  ประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าในทวีปแอฟริกานั้น  กำลังจะเข้าร่วมประเทศในกลุ่มบริกส์ (BRICS) ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน  อันเป็นกลุ่มประเทศที่มีสถานภาพใกล้เคียงกับการเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเข้าไปทุกที    เนื่องจากเป็นประเทศที่ฐานะทางเศรษฐกิจก้าวเข้าสู่ความมั่งคั่งอย่างรวดเร็วในรอบทศวรรษที่ผ่านมา

นางโอคอนโย-อีเวอาลายังกล่าวต่อไปอีกว่าแอฟริกามีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งอุปสงค์ของโลกได้   เนื่องจากในอนาคตข้างหน้า  จำนวนประชากรของแอฟริกาอาจเพิ่มขึ้นจนใกล้เคียงกับจำนวนประชากรในจีนและอินเดียก็เป็นได้   ยิ่งไปกว่านั้น แอฟริกาน่าจะเป็นประเทศปลายทางของการลงทุน   “ไม่ใช่เพียงประเทศผู้รอรับความช่วยเหลือ(จากประเทศที่ร่ำรวยกว่า)” อีกต่อไป

ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา  การรวมตัวของกลุ่มประเทศที่มีฐานะมั่งคั่งทางเศรษฐกิจนั้น  ได้ขยายจากการเป็นกลุ่มประเทศ G7  ออกไปเป็นกลุ่ม G8  จนกระทั่งกลายเป็นกลุ่ม G20  ณ ปัจจุบัน  ซึ่งรวมประเทศในกลุ่มบริกส์ และประเทศที่ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจอื่นๆ เข้าไว้ด้วย   อนึ่ง สัดส่วนของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศกำลังพัฒนาต่อจีดีพีโลก   เมื่อวัดจากความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อนั้น   เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 33.7 เมื่อ พ.ศ. 2523 เป็นร้อยละ 43.4 ใน พ.ศ. 2553

พัฒนาการดังกล่าวส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่อยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านมีสิทธิเสียงมากขึ้นในธนาคารโลก     ดังจะเห็นได้จากการประชุมประจำฤดูใบไม้ผลิเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ที่ประเทศผู้ถือหุ้นของธนาคารโลกทั้ง 186 ประเทศได้มีมติเห็นชอบให้เพิ่มสิทธิในการออกเสียงของประเทศกำลังพัฒนาขึ้นอีกร้อยละ 3.13 จุด   คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 47 ของสิทธิในการลงคะแนนเสียงทั้งหมด

นายโรเบิร์ต บี. เซลลิค ประธานกลุ่มธนาคารโลก มีความเห็นสอดคล้องกับหลายฝ่ายที่ว่า  สิทธิในการออกเสียงของประเทศกำลังพัฒนาในธนาคารโลกควรจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ในอนาคต   และได้ประกาศจุดยืนของเขาอย่างชัดเจน  อย่างไรก็ตาม การเพิ่มสิทธิในการออกเสียงดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้ดุลพินิจของประเทศผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นเจ้าของธนาคารโลก เช่นเดียวกับการปฏิรูปในด้านอื่นๆ ที่ธนาคารโลกได้ดำเนินมาแล้ว 

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะทำให้ประเทศจีนกลายเป็นประเทศผู้ถือหุ้นที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ในธนาคารโลก    นอกจากนี้ ตุรกี เม็กซิโก บราซิล และอินเดีย ต่างก็จะมีสิทธิเสียงมากขึ้นในอันที่จะลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบต่อกิจการต่าง ๆ ของสถาบันเช่นกัน   ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมรับสถานะใหม่ของประเทศเหล่านี้ในระบบเศรษฐกิจโลก   ส่วนประเทศที่มีฐานะยากจนกว่าอีกหลายประเทศ อาทิ เวียดนาม เอล ซัลวาดอร์ เลบานอน และกัมพูชา จะได้รับสิทธิในการออกเสียงเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ของสิทธิเดิมอีกด้วย

ส่วนประเทศในทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่าเองนั้นก็ได้รับสิทธิในการออกเสียงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.55 เป็นร้อยละ 5.86   และสำหรับประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งรวมถึงเอธิโอเปีย ไลบีเรีย มาลี และยูกันดา ก็จะได้รับประโยชน์จากการที่สิทธิเสียงของตนเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มประเทศดังกล่าวได้รับที่นั่งเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งที่นั่งในคณะกรรมการบริหารของธนาคารโลก  ทำให้จำนวนของคณะกรรมการดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 25 ท่าน

เนื่องจากคณะกรรมการบริหารของธนาคารโลกจะดำเนินการตามฉันทามติมากกว่าการลงคะแนนเสียง ด้วยเหตุนี้ การมีที่นั่งเพิ่มขึ้นในคณะกรรมการ จึงหมายความว่าเสียงที่จะแสดงความคิดเห็นและความกังวลแทนประเทศเหล่านี้จะดังกว่าเก่าและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วยนายคาร์ลอส อัลแบร์โต บรากา ผู้อำนวยการท่านหนึ่งของธนาคารโลก กล่าว

ชาวแอฟริกันในกลุ่มเจ้าหน้าที่อาวุโสของธนาคารโลก

ธนาคารโลกนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับโลกที่ทางองค์กรดำเนินการเพื่อให้ความช่วยเหลือ กล่าวคือ ประกอบด้วยเจ้าเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นพลงเมืองของประเทศต่างๆ ทั้งสิ้น 167 ประเทศ โดยเกือบ 2 ใน 3 ของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดนั้นมาจากประเทศกำลังพัฒนาและประเทศในระยะเปลี่ยนผ่าน   นอกจากนี้   สัดส่วนของเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของธนาคารที่มาจากประเทศกำลังพัฒนานั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา

นางโอคอนโย-อีเวอาลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแห่งประเทศไนจีเรีย เป็นหนึ่งในกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสจากประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้   ในฐานะกรรมการผู้จัดการ นางโอคอนโย-อีเวอาลา นับเป็นผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดผู้หนึ่งในธนาคารโลก

คนแอฟริกันที่มีตำแหน่งอาวุโสสูงสุดในธนาคารโลกอีกสองท่านได้แก่ นายเลนนาร์ด แม็คคาร์ธี  ชาวแอฟริกาใต้ ผู้มีชื่อเสียงในเรื่องการต่อต้านการทุจริต  ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานในหน่วยงานที่มีหน้าที่สอบสวนการฉ้อราษฎร์บังหลวงในโครงการที่ธนาคารโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง (Department of Institutional Integrity - INT)   และนายโอเบียเกลิ เอเซคเวซิลิ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไนจีเรีย   ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานธนาคารโลก  รับผิดชอบการบริหารกิจการของเราในทวีปแอฟริกา

เจ้าหน้าที่ระดับสูงทุกท่านที่กล่าวถึงข้างต้น ถือเป็นนักปฏิรูปที่ทรงอำนาจในประเทศของตน และจะได้นำความเชี่ยวชาญซึ่งได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนโลกที่กว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนี้  ในอนาคตอันใกล้  นางศรี มุลยานี อินทราวตี  อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินโดนีเซีย ก็จะเข้ามาเป็นหนึ่งในคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสสูงสุดของธนาคารโลก ในฐานะกรรมการผู้จัดการอีกท่านหนึ่งด้วย

แอฟริกาควรมองตนเองในฐานะที่เป็นประเทศที่ห้าในกลุ่มบริกส์   เป็นประเทศปลายทางของการลงทุน ไม่ใช่เพียงผู้รอบรับการช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆ” นางโอคอนโย-อีเวอาลากล่าวในระหว่างแสดงสุนทรพจน์ต่อศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮาวาร์ด

นี่เป็นสิ่งที่สามารถนำไปปฏิบัติให้เป็นจริงได้ ตามที่ประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลาได้เคยกล่าวไว้ว่า “ทุกสิ่งจะดูเป็นไปไม่ได้ จนกว่าเราจะได้ทำสิ่งนั้นแล้ว

แม้นายเซลลิคเองก็ยังได้กล่าวในสุนทรพจน์ต่อนักวิชาการนานาชาติ ที่ Woodrow Wilson Center for International Scholars เมื่อเดือนที่ผ่านมาว่า  ในขณะที่ประเทศต่างๆ ฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ การลงทุนกลับกำลังไหลบ่าไปสู่ทวีปแอฟริกา และเป็นการลงทุนที่มาจากประเทศในกลุ่มบริกส์เป็นส่วนใหญ่    เศรษฐกิจของประเทศในแอฟริกาที่อยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่านั้นจะสามารถเติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6 จากนี้ไปจนถึงปี 2558  

ดิฉันไม่ได้กำลังพูดถึงการกุศล” นางโอคอนโย-อีเวอาลา กล่าว “ธุรกิจต่างๆ กำลังมองหาตลาดใหม่ๆ สำหรับการลงทุน และแอฟริกาก็มีความเหมาะสมสำหรับการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ ที่:
WB

Api
Api

Welcome