Skip to Main Navigation
เรื่องเด่น วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562

ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะทำงานร่วมกันอย่างไรเพื่อเร่งพัฒนาทุนมนุษย์

Image

เจ้าหน้าที่อาเซียนและหุ้นส่วนด้านการพัฒนาในการประชุมระดับสูงด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 กันยายน 

Chadin Tephaval/World Bank


เรื่องเด่น

  • ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดีเยี่ยม แต่เยาวชนที่เกิดในประเทศดังกล่าวในวันนี้จะมีศักยภาพอย่างเต็มที่เพียง 59% ของความสามารถที่มีอยู่ของพวกเขา เมื่อเทียบกับเยาวชนที่เกิดในภูมิภาคที่มีระบบสุขภาพและการศึกษาที่มีประสิทธิภาพสูง
  • ผู้นำจากอาเซียนมารวมตัวกันในวันที่ 9 กันยายน 2562 เพื่อหารือเกี่ยวกับกลยุทธ์การพัฒนาทุนมนุษย์ในประเทศของพวกเขา เพื่อแสดงถึงฉันทามติทางการเมืองที่จะให้ความสำคัญการลงทุนสาธารณะในประชาชน

ในความพยายามมานานหลายทศวรรษของประเทศต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เกิดความแข็งแกร่ง และลดความยากจนอย่างมีนัยสำคัญ ประเทศในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) ต่างประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาและผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพสำหรับประชาชนในประเทศของตน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ดัชนีชี้วัดเฉลี่ยทางด้านการศึกษา การพัฒนาทักษะ และสุขภาพของสมาคมอาเซียนยังคงมีระดับที่ต่ำกว่าระดับรายได้ในปัจจุบัน ซึ่งช่องว่างดังกล่าวยังคงมีอยู่ และสามารถบั่นทอดการเติบโตและความเจริญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต

เพื่อที่จะเติบโตในเศรษฐกิจโลกซึ่งมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะสร้างอุตสาหกรรมที่ไม่อาจจินตนาการได้ และมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของงานที่ให้ความสำคัญกับทักษะการทำงานมากขึ้น ประเทศในอาเซียนจึงต้องกลับไปสู่พื้นฐาน และลงทุนกับเหล่าเยาวชน

ความท้าทายดังกล่าวมีความสำคัญ เนื่องจากเกือบหนึ่งในสามของเยาวชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หยุดเจริญเติบโต เนื่องจากการขาดสารอาหารอย่างเรื้องรัง ทำให้เยาวชนเหล่านั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดข้อจำกัดทางด้านสติปัญญาและร่างกายตลอดชีวิต สิ่งเหล่านั้นอาจนำไปสู่ผลการเรียนที่ไม่ดี และโอกาสในการทำงานน้อยลง ถึงแม้ว่าอัตราการศึกษาในอาเซียนจะสูง แต่คุณภาพการศึกษาที่จำกัดจะทำให้เกิดช่องว่างการเรียนรู้อย่างมาก โดยเยาวชน 21 คนใน 100 คนมีทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจที่ต่ำ สำหรับเยาวชนที่กำลังจะจบประถมศึกษา ประมาณร้อยละ 15 ของเยาวชนที่อายุ 15 ปีในปัจจุบันจะไม่สามารถมีอายุได้ถึง 60 ปี โดยมีเหตุผลหลักมาจากโรคไม่ติดต่อต่าง ๆ เช่น เบาหวาน มะเร็ง และโรคหลอดเลือดหัวใจ และระบบทางเดินหายใจ ประเด็นดังกล่าวเป็นผลมาจากการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่ไม่มีความเท่าเทียม รวมถึงการเข้าถึงการดูแลสุขภาพและการศึกษา ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันของแง่ของรายได้

กลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งเชื่อมโยงกันทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจมีระดับอายุคาดเฉลี่ย (life expectancy) ประสิทธิภาพของงาน (job productivity) และคุณภาพการศึกษาที่แตกต่างกัน หัวใจสำคัญของปัญหาเหล่านั้นคือความต้องการของทุกประเทศในการเร่งพัฒนาทุนมนุษย์ (human capital) ในเดือนนี้ ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ผู้นำจากภูมิภาคต่าง ๆ ได้มารวมตัวกันเพื่อหารือถึงวิธีการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ในอนาคต

“ความไม่เสมอภาค ความยากจน การศึกษา และสุขภาพ ยังคงเป็นความท้าทายในอาเซียน เราจะต้องทำให้การพัฒนาทุนมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาของเรา” เลขาธิการอาเซียน ลิม จ๊อก ฮอย (Lim Jock Hoi) กล่าวในการประชุมระดับสูงของอาเซียนด้านการพัฒนามนุษย์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562

การประชุมระดับสูงดังกล่าวจัดโดยสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย (NESDC) กระทรวงการต่างประเทศ ธนาคารโลก และ UNICEF  ซึ่งออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการสนทนาระหว่างรัฐสมาชิก และแบ่งปันกรอบนโยบายที่ประสบความสำเร็จและความท้าทายใหม่ ๆ รวมถึงการช่วยกำหนดแนวทางใหม่ ๆ ในการพัฒนาทุนมนุษย์และมุ่งสู่ทิศทางของแนวทางนโยบายร่วมกันที่สามารถปรับเปลี่ยนได้


"หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อผูกพันของประเทศ เราไม่ต้องรอจนกว่าเราจะรวยเพื่อที่จะได้รับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พวกเราแค่ต้องทำ"
Image
นายอนุทิน ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

Image

ผู้อภิปรายหารือในช่วงหนึ่งของการประชุมในเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ 

Chadin Tephaval/World Bank


ดัชนีทุนมนุษย์ของธนาคารโลก (Human Capital Index) ได้แสดงให้เห็นจุดที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะต้องให้ความสำคัญว่า เด็กที่เกิดในอาเซียนในวันนี้เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ จะมีศักยภาพเพียง 59% จากศักยภาพที่ควรจะเป็น ดังนั้น ฉันทามติทางการเมืองที่จะเปลี่ยนการลงทุนของภาครัฐให้ถูกจุดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะเปลี่ยนแปลงปัญหานี้

อาทิเช่น ประเทศไทยลดอัตราการหยุดเจริญเติบโตของเด็กจาก 25% เหลือ 11% ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ผ่านโครงการโภชนาการที่มีเป้าหมายเป็นชุมชนในพื้นที่ที่มีความยากจนสูง วิธีการที่ประสบความสำเร็จดังกล่าวได้นำมาซึ่งสุขภาพ การเกษตร การศึกษา น้ำ และการสุขาภิบาล โดยการประสานงานระดับชุมชนอย่างใกล้ชิด


นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า ประเทศไทยเริ่มต้นโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage) ในปี 2545 แม้ว่าประเทศไทยจะยังคงจัดกลุ่มใหม่จากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียในปี 2540 โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้สิทธิพลเมืองไทยทุกคนในการได้รับบริการด้านสุขภาพที่จำเป็นและครอบคลุมถึง 100% ในปี 2561

“หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อผูกพันของประเทศ เราไม่ต้องรอจนกว่าเราจะรวยเพื่อที่จะได้รับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พวกเราแค่ต้องทำ” นายอนุทินกล่าว

ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคดำเนินการได้ดีในหลาย ๆ ด้านเช่นกัน โดยประเทศเวียดนามมีความโดดเด่นด้านระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพสูงเนื่องจากความมุ่งมั่นในการปฏิรูปการศึกษาและการใช้จ่ายสาธารณะจำนวนมาก ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ได้ริเริ่มโครงการที่ประสบความสำเร็จในการฝึกอบรมและจ้างแรงงานที่มีอายุมาก

ผู้เชี่ยวชาญนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม ที่แสดงให้เห็นว่า ในระดับนานาชาติ การลงทุนด้านสุขภาพและการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กเล็กนั้นสร้างผลตอบแทนสูงจากการผลิต และทำให้แรงงานในอนาคตมีทักษะความรู้ความเข้าใจและทักษะทางสังคมที่จำเป็นในการนำทางเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานทางด้านความรู้ (knowledge-based economy) การประชุมสิ้นสุดลงด้วยคำแนะนำสำหรับการเร่งพัฒนาทุนมนุษย์ในอาเซียนซึ่งรวมถึงการต่อสู้กับการขาดสารอาหารด้วยอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพ การปรับระบบการศึกษาทั้งหมดเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้สำหรับเด็กและการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ใหญ่และทำให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าความสำเร็จ เพื่อให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพแก่ทุกคน และการคุ้มครองทางด้านการเงินจากผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพต่อรายได้ของประชาชน

อย่างไรก็ตาม Laurence Chandy ในฐานะผู้อำนวยการสำนักวิเทศสัมพันธ์และนโยบายระดับโลก (Director of Global Insight and Policy Office) ของยูนิเซฟ (UNICEF) ได้เตือนผู้เข้าร่วมประชุมให้ตระหนักถึงเป้าหมายเหล่านี้ ประเทศต่าง ๆ จะต้องทำ “ภาระผูกพันทางการคลังและกำหนดนโยบายที่ชัดเจนสำหรับการดำเนินงานที่เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละประเทศ”



Api
Api