เรื่องเด่น

เมืองและอุทกภัย: คู่มือเพื่อการบริหารจัดการน้ำท่วมในเขตเมืองแบบบูรณาการสำหรับศตวรรษที่ 21

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


  • อุทกภัยเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยกว่าภัยพิบัติอื่นๆ ก่อให้เกิดหายนะในวงกว้างทั้งความสูญเสียด้านเศรษฐกิจและชีวิตของผู้คน
  • ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีความเปราะบางต่ออุกภัยเป็นอย่างมาก ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา จำนวนครั้งที่เกิดอุทกภัยในเอเชียสูงถึงร้อยละ 40 จากจำนวนครั้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก
  • อุทกภัยในเขตเมืองก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น อีกทั้งการบริหารจัดการยังยากขึ้นด้วย เนื่องจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางและมีรายได้ต่ำในภูมิภาคกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นสังคมเมืองโดยมีประชากรและทรัพย์สินกระจุกตัวอย่างหนาแน่นในบริเวณใจกลางเมือง
  • นอกจากความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยตรงแล้ว อุทกภัยยังมีผลกระทบต่อเนื่องในระยะยาวอีกด้วย อาทิ การสูญเสียโอกาสทางการศึกษา โรคภัยไข้เจ็บที่มากับน้ำท่วม และ ภาวะทุโภชนาการ ผลกระทบทางลบเหล่านี้อาจบั่นทอนเป้าหมายการพัฒนาได้
  • การขยายตัวอย่างรวดเร็วของสังคมเมืองก่อให้เกิดย่านชุมชนผู้มีรายได้ต่ำ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่เหมาะสม ขาดแคลนสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ รวมถึงบริการทางภาครัฐอื่น ๆ ซึ่งทำให้พวกเขามีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมากที่สุดโดยเฉพาะเด็กและสตรี
  • แนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัยคือแนวทางการจัดการแบบบูรณาการที่มีการผสมผสานทั้งการใช้มาตรการทางโครงสร้างวิศวกรรมและมาตรการอื่น ๆ
  • แนวทางดังกล่าวนี้รวมถึง:
    • การสร้างช่องทางระบายน้ำและฟลัดเวย์ (Floodways)
    • การผนวกแนวทาง “การจัดให้มีพื้นที่สีเขียวในเมือง” (Urban Greening) เช่น การมีพื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่กันชนทางสิ่งแวดล้อม
    • สร้างระบบเตือนภัยน้ำท่วม และ
    • การวางแผนการใช้ที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงอุทกภัย
  • หัวใจของแนวทางการจัดการคือการสร้างสมดุลย์ที่เหมาะสม เนื่องจากความเสี่ยงที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตอันเนื่องมาจากผลกระทบของการขยายตัวของเขตเมือง และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วจึงต้องอาศัยแนวทางการแก้ปัญหาที่มีความยืดหยุ่น
  • ผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวควรได้รับการพิจารณา ตัวอย่างเช่น ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ ความเท่าเทียมกัน ทุนทางสังคม และเรื่องอื่นๆ
  • การจะดำเนินการแผนยุทธศาสตร์แบบบูรณาการนี้ให้มีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลระดับต่าง ๆ หน่วยงานในภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ตลอดจนต้องอาศัยการตัดสินใจอย่างทันท่วงทีและเด็ดขาดจากรัฐบาลทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
  • เครื่องมือต่าง ๆ อาทิ แผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อน้ำท่วม รวมไปถึงเทคนิคในเรื่องแบบจำลองและการทำภาพเสมือนจริงสามารถช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายเข้าใจเรื่องความเสี่ยงและภัยอันเกิดจากน้ำท่วม คาดการณ์ผลกระทบที่จะได้รับ และประเมินมูลค่าความเสียหายได้ดียิ่งขึ้น
  • นอกจากนี้ การสื่อสารมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างความตระหนักและช่วยเสริมการเตรียมพร้อมในการรับมืออุทกภัย คู่มือระบุว่าคนส่วนใหญ่ลืมภัยพิบัติที่ไม่รุนแรงนักภายใน 3 ปี
  • เนื่องจากเราไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วมให้หมดไปได้โดยสิ้นเชิง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนเพื่อการฟื้นฟูที่รวดเร็ว และใช้การฟื้นฟูและบูรณะเป็นโอกาสในการสร้างชุมชนที่ปลอดภัยและเข้มแข็งยิ่งขึ้นที่มีศักยภาพในการรับมือกับอุทกภัยได้ดีขึ้นในอนาคต

Api
Api

Welcome