เรื่องเด่น

ประเด็นสำคัญที่กล่าวถึงประเทศไทย และภูมิภาคในรายงานเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก

วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554


ประเด็นสำคัญ

  • การเติบโตของจีดีพีที่แท้จริง (Real GDP) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกยังคงอยู่ในอัตราที่สูง แต่ว่าเริ่มชะลอตัวลง กลุ่มส่งออกภาคอุตสาหกรรมการผลิตเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยถูกประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.4 ใน 2554 ซึ่งต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกซึ่งไม่รวมจีน การเติบโตที่ช้าลงในปี 2554 เป็นผลมาจากปัจจัย 3 ประการคือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก, แผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น, และภัยพิบัติอุทกภัยที่พึ่งผ่านมาซึ่งส่งผลกระทบใน 26 จังหวัด
  • การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกกำลังลดตัวลง โดยมีปัจจัยหลักมาจากการลดลงของอุปสงค์ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีต่อสินค้าส่งออกจากเอเชียตะวันออกส่งผลให้การส่งออกของสินค้า อิเล็กทรอนิกส์, อุปกรณ์โทรคมนาคม, ชิ้นส่วนยานยนต์, และเสื้อผ้าจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกลดลง
  • การค้าของประเทศไทยกับยุโรปอยู่ในระดับปานกลาง การส่งออกของไทยร้อยละ 35  เป็นการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป, อเมริกา, และญี่ปุ่น ไทยส่งออกไปยังกลุ่มสหภาพยุโรปเพียงร้อยละ 12  อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปผ่านเครือข่ายการผลิตและค้าขายกับประเทศอื่น ๆในภูมิภาคเดียวกัน  การส่งออกของจีนไปยังตลาดสหภาพยุโรปคิดเป็นร้อยละ 21ในขณะที่การส่งออกของไทยร้อยละ 11 ส่งไปยังจีน
  • อุปสงค์ภายในภูมิภาค รวมทั้งจากจีนช่วยค้ำจุนภาคการส่งออกของไทย การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคของจีนเติบโตอย่างรวดเร็ว และต่อไปจะก้าวเป็นผู้นำเข้าอันดับสองแซงยุโรป ไทยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 3.5 (คิดเป็นมูลค่า 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคของจีน  ส่วนแบ่งการตลาดนี้นับว่ามากกว่าส่วนแบ่งสินค้าอุปโภคบริโภคจากอินโดนีเซีย, มาเลเซีย, หรือ ฟิลิปปินส์ ในจีน เป็นอย่างมาก
  • เมื่อความผันผวนของตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น นักลงทุนทั่วโลกจำนวนมากหันไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯ โดยราคาหุ้นของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกตกลงไปมากกว่า 1 ใน 4 จากราคาสูงสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม
  • เงินสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศลดลงในเดือนกันยายน แต่อย่างไรก็ตามระดับของเงินสำรองของหลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยยังถือว่าอยู่ในระดับสูง และจะช่วยลดผลกระทบหากเกิดการผันผวนของการไหลเข้าออกของเงินตราระหว่างประเทศขึ้นอีก
  • นโยบายควรถูกดำเนินการโดยคำนึงถึงการส่งเสริมการเติบโตของอุปสงค์ในประเทศในระยะยาว การลงทุนที่มากขึ้นในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษา และประกันสังคมจะสามารถช่วยประเทศต่าง ๆ เพิ่มผลิตภาพและปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงกว่าเดิม นอกจากนี้การลงทุนเพิ่มเติมในด้านการจัดการและป้องกันภัยพิบัตินับเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้นสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
  • แผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนมีนาคม 2554 มีผลกระทบต่อประเทศไทย แต่กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ในญี่ปุ่นสามารถฟื้นตัวได้ภายใน 6 เดือนหลังจากแผ่นดินไหว กลุ่มยานยนต์ของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบอย่างหนัก โรงงานซึ่งผลิตไมโครคอนโทรลเลอร์ คิดเป็นร้อยละ 40 ของโลกถูกทำลายทำให้การผลิตรถยนต์ทั่วโลกต้องชะงักงันลง เช่นเดียวกันกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกอื่น ๆ  ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการที่ห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ชะงักงันลง การผลิตรถยนต์ขนาดเล็กของไทยลดจากที่เคยเติบโตร้อยละ 46 ในเดือน กุมภาพันธ์ 2554 เป็นร้อยละ 40 ในเดือนเมษายน หลังจากภัยพิบัติ 6 เดือนกลุ่มยานยนต์ของไทยก็เติบโตที่ระดับเดียวกับก่อนหน้าภัยพิบัติและสามารถผลิตได้ในระดับเกือบเท่าก่อนประสบภัยพิบัติ

Api
Api

Welcome