Skip to Main Navigation
publication วันที่ 9 เมษายน 2561

รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย: ปริศนานวัตกรรม เมษายน 2561

Image

เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะเติบโตร้อยละ 4.1 ในปีพ.ศ. 2561 เนื่องจากการฟื้นตัวในหลายภาคส่วน เป็นการเติบโตสูงสุดนับจากปีพ.ศ. 2555

  • เศรษฐกิจไทยเติบโตถึงร้อยละ 3.9 ในปีพ.ศ. 2560 เนื่องจากอุปสงค์ภายนอกประเทศ นับว่าเศรษฐกิจไทยเติบโตสูงที่สุดนับจากปีพ.ศ. 2555 เป็นต้นมา
  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา การบริโภคเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 50 ของจีดีพีในปีพ.ศ. 2560 ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเกือบครึ่งในปีที่ผ่านมา
  • การส่งออกขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 7.5 อันเป็นผลจากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว  ซึ่งเป็นการสะท้อนแนวโน้มของทั้งภูมิภาคเมื่อการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นในทุกประเทศทั่วทั้งภูมิภาค
  • การนำเข้าสูงขึ้นร้อยละ 6.5 โดยเป็นการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าชั้นกลางเพิ่มขึ้นมากที่สุด การนำเข้าสินค้าทุนสูงขึ้นร้อยละ 8.6 ในปีพ.ศ. 2560 โดยสะท้อนให้เห็นการเพิ่มการนำเข้าเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญสำหรับการเพิ่มการลงทุนภาคเอกชนในปีพ.ศ. 2561
  • การลงทุนภาครัฐชะลอตัวลงในปีพ.ศ. 2560 เนื่องจากความล่าช้าในการอนุมัติและสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง  ทั้งนี้ การเร่งดำเนินการตามแผนการลงทุนขนาดใหญ่โดยเฉพาะโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วน จัดว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างเข้มแข็งในปีพ.ศ. 2561 ไปจนถึง 2562 นอกจากนี้ การดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการปฏิรูปด้านการศึกษาและทักษะ การบริหารจัดการลงทุนภาครัฐ และการบริการล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเดินหน้าเติบโตสูงกว่าร้อยละ 4 ในระยะยาว

 

แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไทยระยะยาวขึ้นอยู่กับนวัตกรรม ทว่าประเทศไทยก็เป็นหนึ่งตัวอย่างของประเทศตลาดเกิดใหม่ที่เผชิญกับความย้อนแย้งของนวัตกรรม ซึ่งแม้ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในด้านเทคโนโลยีจะสูง แต่กลับมีการลงทุนไม่มาก

  • แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวขึ้นอยู่กับผลิตภาพ เนื่องจากการขยายตัวของแรงงานและทุนจะลดลงอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งในกรณีของประเทศไทยคือการก้าวสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว
  • การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมที่มีรายได้สูงนั้น จะต้องมีการลงทุนไม่เฉพาะปัจจัยทางนวัตกรรม แต่ต้องมีปัจจัยเสริมในด้านอื่น ๆ ที่ช่วยสร้างแรงจูงใจที่ถูกต้องในการลงทุนด้านนวัตกรรมร่วมด้วย สำหรับประเทศไทยมีประเด็นสำคัญห้าเรื่องได้แก่ นโยบายการแข่งขัน การเปิดเสรีด้านบริการ Big Data กำลังแรงงานที่มีทักษะ และสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญา  กุญแจสำคัญคือการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง เนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องที่ต้องใช้ระยะเวลาและอาจมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้
  • ประเทศกำลังพัฒนาไม่มีการลงทุนสูงในเรื่องนวัตกรรม และยังลงทุนน้อยมากในนวัตกรรมทุกประเภทเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว  ประเทศไทยตามหลังจีนและมาเลเซียทั้งเรื่องการลงทุนและผลิตภัณฑ์ด้านนวัตกรรม แต่กระนั้นประเทศไทยก็ยังมีประสิทธิผลด้านนวัตกรรมสูงกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซีย