Skip to Main Navigation
publication วันที่ 24 สิงหาคม 2560

รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย – สิงหาคม 2560 ก้าวสู่ยุคดิจิทัล

Image

เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและคาดว่าจะเติบโตที่ร้อยละ 3.5 ในปีพ.ศ. 2560 และร้อยละ 3.6 ในปีพ.ศ. 2561

  • เศรษฐกิจไทยเติบโตร้อยละ 3.3 ในช่วงไตรมาสแรกของปีพ.ศ. 2560 สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้เนื่องจากการฟื้นตัวของรายได้ภาคเกษตรหลังภัยแล้ง การส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวสูงขึ้น รวมทั้งเป็นผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
  • การส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 สูงที่สุดในรอบสี่ปีเนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกสูงขึ้นและการเติบโตของเศรษฐกิจคู่ค้า
  • ภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 7.7 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นและการฟื้นตัวจากภัยแล้ง
  • การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.1 เทียบกับร้อยละ 2.2 เมื่อปีพ.ศ. 2558 โดยได้รับผลจากรายได้ภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคฟื้นตัว
  •  การลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเพื่อเชื่อมต่อกับภูมิภาคที่ห่างไกลเพิ่มขึ้น และมีการยกระดับระบบรางเป็นรางคู่ซึ่งสามารถช่วยกระตุ้นการลงทุนจากภาคเกชน เพิ่มผลิตภาพด้านเศรษฐกิจในวงกว้าง และเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน
  • ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตเกินร้อยละ 4 ด้วยการแก้ไขข้อติดขัดเชิงโครงสร้างในเรื่อง คุณภาพการศึกษา การเปิดเสรีภาคบริการ และการจัดการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
  • ความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยนั้นได้แก่ ความไม่แน่นอนทางการเมือง หากการปฎิรูปและการเลือกตั้งเลื่อนออกไป  สภาวะแวดล้อมของเศรษฐกิจโลกถดถอย อาทิ การปกป้องทางการค้า การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยและการฟื้นตัวของการลงทุนในภาคเอกชน

Image

เศรษฐกิจดิจิทัลมีศักยภาพสูงที่จะส่งผลกระทบในด้านสังคมและเศรษฐกิจ ประเทศไทยสามารถสร้างยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัลเพื่อให้มั่นใจว่าประเทศไทยจะมีโอกาสใหม่ๆ เกิดขึ้น

  • มูลค่าของเศรษฐกิจดิจิทัลในปัจจุบันเทียบเท่า 11.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 15.5 ของ จีดีพีโลก จากที่เคยมีมูลค่าเล็กน้อยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
  • เมื่อปีพ.ศ. 2559 ประเทศไทยได้ตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และจัดทำแผนแม่บท 20 ปี ด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แบ่งออกเป็น 4 ระยะดังนี้

1. การลงทุนและสร้างฐานราก
2. การที่ทุกภาคส่วนของประเทศไทยได้เข้ามามีส่วนร่วม
3. การก้าวสู่ดิจิทัลไทยแลนด์
4. การบรรลุเป้าหมายในการอยู่ในกลุ่มประเทศผู้นำด้านดิจิทัล

  • นับจากนั้นเป็นต้นมา ประเทศไทยได้เปิดตัวโครงการหลายโครงการ อาทิ ดิจิทัลไทยแลนด์ ไทยแลนด์ 4.0 และโครงการพิเศษอื่นๆ เพื่อพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (ดิจิทัลปาร์ก มหาวิทยาลัย 4.0)
  • ผลการดำเนินการของไทยในเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลจากตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องหลายด้าน พบว่าประเทศไทยถูกจัดลำดับที่หลากหลาย

1. ลำดับที่ 82 จาก 175 ประเทศจาก ITU’s ICT Development Index 2016
2. ลำดับที่  62 จาก 139 ประเทศ จาก World Economic Forum’s Networked Readiness Index 2016
3. ลำดับที่ 77 จาก 193 ประเทศจาก United Nations e-Government Survey 2016
4. ลำดับที่ 21 จาก 65 ประเทศจาก Waseda University’s 2017 Digital Government Rankings

  • แผนแม่บทเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยกำลังดำเนินการตามเส้นทางที่ถูกต้องไปพร้อมๆ กับการริเริ่มโครงการที่มีประโยชน์หลายโครงการ 

1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
2. การเร่งส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
3. การส่งเสริมสังคมดิจิทัล รัฐบาลดิจิทัล พัฒนากำลังแรงงาน และโครงสร้างพื้นฐานด้านกำกับดูแล (กฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และความปลอดภัย)

  • ประเทศไทยสามารถไปถึงเป้าหมายด้านดิจิทัลที่มุ่งหวังได้ด้วยการพัฒนาประเด็นสำคัญ 4 ประการนี้

1. พื้นฐานด้านดิจิทัล (การแลกเปลี่ยนข้อมูล เครือข่ายสำหรับอนาคต)
2. รูปแบบการถ่ายโอนข้อมูลด้านธรุกรรมของธุรกิจ (บล็อคเชน)
3. ทักษะด้านดิจิทัล
4. งานที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานในด้านวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ระยะยาว และการกำหนดนโยบายอย่างทันการ


Api
Api