Skip to Main Navigation
publication วันที่ 22 มิถุนายน 2564

ระบบบำนาญในประเทศไทย

Image

ประเด็นสำคัญ

รายงานฉบับนี้วิเคราะห์ระบบบำนาญในปัจจุบันในประเทศไทยและเสนอทางเลือกในการปฏิรูปที่จะทำให้ระบบบำนาญพอเพียงเหมาะสมและยั่งยืนมากขึ้น 

  • ประเทศไทยมีประชากรสูงวัยในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่มีประชากรในวัยทำงานเพียงราวหนึ่งในสามเท่านั้นที่อยู่ในระบบบำนาญ
  • ในส่วนของผู้ที่อยู่ในระบบบำนาญ มีแต่คนทำงานในภาครัฐเท่านั้นที่จะสามารถรักษาระดับการบริโภคที่เหมาะสมได้โดยไม่ต้องอาศัยการเก็บออมสำหรับยามเกษียณเพิ่มเติม

เงินบำนาญมีส่วนเพียงเล็กน้อยในการเสริมรายได้ให้กับผู้สูงอายุในประเทศไทย

  • รัฐบาลได้ขยายการให้ความช่วยเหลือที่มุ่งเป้าผู้สูงอายุในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา และในปีพ.ศ. 2561 จ่ายเงินจำนวนเล็กน้อยให้กับประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปราวสามในสี่
  • กว่าสามในสี่ของคนไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไประบุว่าแหล่งรายได้หลักของตนมาจากการทำงานหรือครอบครัว มีราวร้อยละ 5 เท่านั้นที่ระบุว่าเงินบำนาญเป็นแหล่งรายได้หลัก
  • โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมีความครอบคลุมสูงแต่จำนวนเงินที่แจกไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาความยากจนในหมู่ผู้สูงอายุที่ยังคงต้องทำงานและ/หรือพึ่งพาลูกหลานต่อไป
  • การมีส่วนช่วยจุนเจืออย่างจำกัดของเงินบำนาญเป็นภาพที่ตัดกันอย่างมากกับระบบบำนาญทั้งภาคบังคับและสมัครใจที่มีออกมาจำนวนมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

รายงานฉบับนี้มีข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลของระบบบำนาญดังต่อไปนี้

การปฏิรูปในทันที  

  • จ่ายเงินบำนาญเพิ่มขึ้นและทำดัชนีเชื่อมโยงกับอัตราเงินเฟ้อ
  • ทบทวนปรับปรุงกองทุนประกันสังคมและระบบบำนาญสำหรับคนทำงานภาครัฐ

การปฏิรูประยะกลาง

  • สร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและจัดทำทะเบียนแบบบูรณาการที่จะอำนวยความสะดวกให้กับระบบการช่วยอุดหนุนให้ค่อยๆ ครอบคลุมอย่างถ้วนหน้าเหมือนกรณีหลักประกันสุขภาพ

และควรต้องมีการประเมินระบบบำนาญในแง่ของการส่งผลต่อความยั่งยืนทางการคลังและการออมของประเทศ ดูบทวิเคราะห์ในเรื่องนี้ได้ในรายงานของธนาคารโลกเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์มหภาคจากการมีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นในประเทศไทย