ข่าวประชาสัมพันธ์

รายงานล่าสุดของบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) และ ธนาคารโลกพบว่าการปฎิรูปภาครัฐได้เสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่สตรี แต่ต้องมีประเด็นด้านอื่นที่ต้องดำเนินการด้านอื่นอีกมาก

วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554



กรุงวอชิงตัน 28 กันยายน 2554 – รายงานฉบับใหม่ของธนาคารโลกและบรรษัทการเงินระหว่างประเทศพบว่าผู้หญิงยังคงมีอุปสรรคด้านกฎระเบียบและกฎหมายในการเข้ามามีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่

รายงาน สตรี ธุรกิจ และกฎหมาย ประจำปี 2555: การขจัดสิ่งกีดขวางเพื่อการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ ระบุว่าแม้จะมีการลดความแตกต่างด้านกฎหมายระหว่างหญิงชายใน 36 ประเทศ  แต่จากการศึกษาพบว่าใน 103 ประเทศจาก 141 ประเทศยังคงมีการบังคับใช้กฎหมายที่แบ่งแยกทางเพศบนพื้นฐานของความเสมอภาคหญิงชายอย่างน้อย 1 ตัวชี้วัดจาก รายงานฉบับนี้   นอกจากนี้ รายงานนี้ยังระบุถึงการปฎิรูปกฎหมายและกฎระเบียบ 41 ประการที่ได้ดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน 2552 ถึง มีนาคม 2554 ที่ส่งผลต่อการขยายโอกาสทางเศรษฐกิจของผู้หญิง

จากสถิติประชากรโลกร้อยละ 49.6 เป็นผู้หญิง หากแต่มีแรงงานผู้หญิงในภาคเศรษฐกิจหลักเพียงร้อยละ 40.8 เท่านั้น   สัดส่วนที่แตกต่างกันนี้อาจเป็นผลมาจากความไม่เท่าเทียมทางกฎหมายระหว่างหญิงชาย  รายงานนี้ยังระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วประเทศที่มีความไม่เท่าเทียมทางกฎหมายระหว่างผู้ชายและผู้หญิงจะมีสัดส่วนของผู้หญิงในตลาดแรงงานในภาคเศรษฐกิจหลักต่ำ

“การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมีส่วนสำคัญต่อขีดความสามารถในการแข่งขันและผลผลิตทางเศรษฐกิจอย่างมาก  รวมไปถึงเรื่องทรัพยากรมนุษย์” นายออกุสโต โลเปส-คาร์ลรอส ผู้อำนวยการด้านตัวชี้วัดและการวิเคราะห์โลก กลุ่มธนาคารโลก กล่าว “การกีดขวางไม่ให้ประชากรครึ่งหนึ่งของโลกเข้ามามีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจอย่างเต็็ิมที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงไม่เป็นที่ประหลาดใจว่า ประเทศที่มีขีดความสามารถสูงในโลกมักจะเป็นประเทศที่มีช่องว่างด้านโอกาสทางเศรษฐกิจระหว่างหญิงชายต่ำที่สุด”

รายงานฉบับยังนี้ได้ประเมินถึงความสามารถของผู้หญิงในการทำสัญญาธุรกิจ การเดินทางไปต่างประเทศ การบริหารจัดการทรัพย์สิน และการมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐและภาคเอกชน ผู้หญิงที่สมรสแล้วโดยทั่วไปต้องเผชิญกับความไม่เท่าเทียมทางเพศที่สูงกว่าหญิงโสด ผู้หญิงที่สมรสแล้วใน 23 ประเทศไม่มีสิทธิในการเลือกที่อยู่ตามกฎหมาย และในอีก 29 ประเทศผู้หญิงไม่มีสิทธิเป็นหัวหน้าครอบครัวทางกฎหมาย

ทุกภูมิภาคมีประเทศที่มีความเสมอภาคระหว่างหญิงชายด้านกฎหมาย แต่ระดับของความไม่เท่าเทียมแตกต่างกัน   โดยเฉลี่ยแล้วประเทศที่มีรายได้สูงจะมีความไม่เท่าเทียมในระดับที่น้อยกว่าประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ  ภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือมีความไม่เท่าเทียมระหว่างหญิงชายด้านกฎหมายมากที่สุด  รองลงมาคือ ภูมิภาคเอเชียใต้และแอฟริกา โดยในแอฟริกานั้น ประเทศเคนยาถือว่าเป็นประเทศยกเว้น  ทั้งนี้ เคนยาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการปฏิรูปเพื่อความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงชายมากที่สุดในโลกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา  โดยในระดับภูมิภาคนั้น ละตินอเมริกาและคาริบเบียน ยุโรป และเอเชียกลางมีความการปรับปรุงด้านความก้าวหน้าด้านความเสมอภาคหญิงชายมากที่สุด

คุณสามารถอ่านรายงานฉบับนี้ได้ที่ wbl.worldbank.org

เกี่ยวกับโครงการ สตรี ธุรกิจ และกฎหมาย
โครงการนี้ประเมินถึงความแตกต่างของกฎระเบียบและสถาบันต่าง ๆ ระหว่างหญิงชายที่อาจส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจและศักยภาพในการทำงาน  รวมถึงการก่อตั้งและการดำเนินธุรกิจของผู้หญิง  โครงการ สตรี ธุรกิจ และกฎหมาย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความไม่เท่าเทียมทางกฎหมายในเรื่องความเสมอภาคระหว่างหญิงชายใน 141 ประเทศทั่วโลกครอบคลุม 6 ตัวชี้วัดได้แก่  1. ความสามารถของสตรีด้านกฎหมายในการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 2.วิเคราะห์ความสามารถของสตรีในการเข้าถึง จัดการและสืบทอดทรัพย์สิน 3. การหางาน 4. การให้แรงจูงใจในการทำงาน 5. การสร้างเครดิตและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และ 6. การเข้าถึงศาลยุติธรรม  โครงการนี้แสดงภาพที่ชัดเจนในเรื่องช่องว่างระหว่างหญิงชายที่เป็นผลมาจากความไม่เท่าเทียมทางด้านกฎหมายของแต่ละประเทศ  ซึ่งเป็นเพียงภาพบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับความไม่เท่าเทียมทางด้านกฎหมายเท่านั้น  แต่ยังคงไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศที่แท้จริงทั้งหมด และไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันระหว่างประเด็นความไม่เท่าเทียมต่าง ๆ ได้  สำหรับข้อกฎหมายที่มีผลกระทบต่อสถานะทางเศรษฐกิจของผู้หญิงใน 183 ประเทศ ได้ถูกรวบรวมไว้ที่ Gender Law Library ที่เว็บไซต์ https://wbl.worldbank.org 

เกี่ยวกับกลุ่มธนาคารโลก
กลุ่มธนาคารโลกเป็นแหล่งความรู้และแหล่งทุนสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกประกอบด้วย 5 องค์กรหลักคือ ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการฟื้นฟูบูรณะและพัฒนา (International Bank for Reconstruction and Development-IBRD) และ สมาพันธ์การพัฒนาระหว่างประเทศ (International Development Association-IDA) ซึ่ง 2 องค์กรนี้รวมกันเป็นธนาคารโลก (World Bank) และอีก 3 สถาบัน คือ บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (International Finance Corporation-IFC) หน่วยงานประกันการลงทุนพหุภาคี (Multilateral Investment Guarantee Agency-MIGA) และ ศูนย์กลางระหว่างประเทศเพื่อยุติข้อขัดแย้งด้านการลงทุน (International Centre for Settlement of Investment Disputes-ICSID) แต่ละองค์กรมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในประเทศกำลังพัฒนา

สื่อมวลชนโปรดติดต่อ
ใน กรุงวอชิงตัน ดีซี
Nadine Ghannam
โทร: (202) 473-3011
nsghannam@ifc.org


ข่าวประชาสัมพันธ์ ที่:
2012/093/IFC

Api
Api

Welcome