Skip to Main Navigation
เรื่องเด่น วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560

เรื่องชวนคิด: ข้าวแกงช่วยสนับสนุนสันติภาพและการพัฒนาในสามจังหวัดชายแดนใต้

Image

เรื่องเด่น

  • ความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทยส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 6,000 คนและบาดเจ็บอีกกว่า 12,000 คน นับแต่ปีพ.ศ. 2547 เนื่องจากการก่อความไม่สงบของกลุ่มผู้แบ่งแยกดินแดนที่มีสาเหตุมาจากชาติพันธุ์และศาสนา
  • ชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ต้องเผชิญปัญหาท้าทายมากมาย รวมทั้งการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ ทำให้เสี่ยงที่จะก่อภาระหนี้สินเรื้อรัง
  • การก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชน 33 แห่งซึ่งมีสมาชิกเกือบ 3,000 รายเพื่อเป็นแหล่งเงินกู้ผ่านโครงการพัฒนาที่มีชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนนั้น ช่วยให้ชาวบ้านมีเงินที่จะนำไปประกอบธุรกิจขนาดเล็กได้

"เมื่อก่อนชาวบ้านต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ แต่ตอนนี้ทุกคนสามารถยืมเงินจากชุมชนได้ พวกเขาสามารถใช้เงินกู้นี้ไปพัฒนาการประกอบอาชีพ และเริ่มต้นธุรกิจขนาดเล็ก ทำให้ครอบครัวมีความสุขมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต"
Image
นูรียะ
สมาชิกชมชนออมทรัพย์


อาหารที่ชวนชิมดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาในร้านข้าวแกงที่มีชื่อเสียงของนูรียะ กลิ่นเครื่องเทศที่ปรุงสดใหม่ แกงหลากหลายเมนูสีสันสดใสน่ารับประทานหอมอบอวลไปทั่วสามจังหวัดชายแดนใต้

ลูกค้าต่างจอดรถมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ไว้ริมถนน และเข้าคิวรออย่างอดทนเพื่อจะได้ลิ้มชิมรสชาติอาหารพื้นบ้านที่ดีสุดร้านหนึ่งในพื้นที่ อาหาร

อร่อยฯที่หลากหลายเป็นสิ่งคุ้นตาในร้านอาหารไทยทั่วไปที่กรุงเทพฯ แต่ที่นี่คือปัตตานี ซึ่งทราบกันดีว่าเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตในสามจังหวัดชายแดนใต้กว่า 6,000 ราย

แม้นูรียะ มาฮามะเจ้าของร้านข้าวแกงกะยะห์จะมีอายุ 51 ปีแล้วและเป็นคุณแม่ลูกสอง แต่เธอยังกระฉับกระเฉงมุ่งมั่นทำภารกิจประจำวันในฐานะผู้ประกอบการราวกับคนที่มีอายุเพียงครึ่งเดียวของเธอ

แม้ฝนจะตกหนัก เธอยังตื่นนอนตอนเช้าตรู่ ขี่รถมอเตอร์ไซค์พ่วงคันใหญ่ไปคัดสรรวัตถุดิบสดใหม่จากตลาดแถวบ้านเพื่อนำเครื่องปรุงที่สดใหม่และสัตว์ทะเลที่จับได้จากชายฝั่งใกล้เคียงมาปรุงอาหารตามสูตรที่ถ่ายทอดกันรุ่นสู่รุ่นในครอบครัวของเธอ

นูรียะเป็นหนึ่งในสมาชิกเกือบ 3,000 รายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนจาก 33 แห่ง ที่จัดตั้งขึ้นตามโครงการขยายความร่วมมือของชุมขนในสถานการณ์ความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จากการสนับสนุนของธนาคารโลก โครงการนี้มีส่วนช่วยพัฒนาแนวทางการพัฒนาชุมชนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม สร้างโอกาส และสนับสนุนการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ขัดแย้ง และระหว่างชุมชนกับรัฐ 

ร้านข้าวแกงของนูรียะเป็นหนึ่งในตัวอย่างของโครงการ ซึ่งพัฒนาโดยให้ชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนนี้มีส่วนช่วยให้ชาวบ้านที่คิดเห็นต่างกันได้มาพบปะทำความรู้จัก ก่อให้เกิดความไว้วางใจ สร้างสันติภาพ และการพัฒนาระหว่างคนในชุมชนผ่านข้าวแกงรสเลิศของร้านเธอ 


นูรียะสามารถกู้เงินจำนวน 10,000 บาทจากลุ่มออมทรัพย์ชุมชนเช่นนี้ ซึ่งช่วยเปลี่ยนโฉมธุรกิจในครัวเรือนของเธออย่างมาก “ชีวิตของฉันเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อก่อน ฉันทำงานต้มปลากะตักมีรายได้เพียง 50 บาทต่อวัน แต่ตอนนี้ธุรกิจของฉันทำให้มีรายได้ 150 บาทภายในสามชั่วโมง

ก่อนหน้านี้เธอต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบที่คิดดอกเบี้ยแพง เงินกู้ปลอดดอกเบี้ยที่นูรียะได้จากกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน ช่วยให้เธอสามารถขยายกิจการเล็ก ๆ ในหมู่บ้านที่ห่างไกล จากที่เคยใช้บ้านเป็นร้านขายข้าวแกง ปัจจุบันเธอขยายกิจการไปตั้งร้านในเมืองใหญ่ตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2559 เธอใช้เงินกู้ก้อนนี้ลงทุนขยายร้านข้าวแกง ปรับปรุงเครื่องใช้สอยในครัวและร้านอาหารเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ปัจจุบัน เธอใช้หนี้เงินกู้งวดแรกหมดแล้ว และได้กู้เงินเพิ่มอีก 2 ครั้งรวม 20,000 บาทและได้ชำระหนี้ครบหมดแล้ว ด้วยเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยนี้เองทำให้เธอสามารถขยายธุรกิจในครัวเรือน เพิ่มรายการอาหารของร้านจาก 10 อย่างเป็น 28 อย่าง

เมื่อก่อนชาวบ้านต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ แต่ตอนนี้ทุกคนสามารถยืมเงินจากชุมชนได้ พวกเขาสามารถใช้เงินกู้นี้ไปพัฒนาการประกอบอาชีพ และเริ่มต้นธุรกิจขนาดเล็ก ทำให้ครอบครัวมีความสุขมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต

สิ่งที่ยื ฟสงทยนฟฟกนยันความสำเร็จของเธออีกอย่างหนึ่งคือ เธอได้มีส่วนช่วยจ้างงานคนงานหกคน รวมทั้งญาติของเธอ เพื่อช่วยกันทำอาหารหลากหลายเมนู ซึ่งไม่เพียงทำให้อาหารในร้านมีรสชาติแบบพื้นบ้านอย่างแท้จริง แต่ยังทำให้นูรียะและคนงานในร้านรู้สึกเข้มแข็งมากขึ้นด้วย

เงินกู้นี้ไม่เพียงช่วยให้นูรียะมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้น หากยังช่วยให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียวระหว่างครอบครัวของเธอกับชุมชน เธออธิบายว่า “ลูกของฉันไม่ต้องไปทำงานที่มาเลเซียแล้ว ฉันสามารถจ้างลูกให้ทำงานที่ร้านได้ ถ้ากิจการยังไปได้ด้วยดี ฉันจะสามารถจ้างคนอื่น ๆ ในชุมชนของเราเองได้อีก เมื่อคนมีงานทำ ชุมชนก็พัฒนามากขึ้น”

Image
สมาชิกชุมชนกำลังพูดคุยและระดมความคิดเรื่องโครงการที่จังหวัดปัตตานี
 

ลูกค้าคนหนึ่งของเธอคือคุณดนยา สะแลแม ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ของโครงการนี้  คุณดนยาเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานทั้งหมด 18 คนที่ทำงานให้กับโครงการนี้ทั้งในระดับหมู่บ้านและตำบล คุณดนยาเล่าให้ฟังอย่างตื่นเต้นว่า กลุ่มออมทรัพย์ชุมชนเหล่านี้ไม่เพียงช่วยให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริงเท่านั้น หากยังมีประโยชน์ทางสังคมที่ช่วยให้ชุมชนไว้วางใจซึ่งกันและกันด้วย

โครงการนี้ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ของสมาชิกทั้งในและนอกชุมชน พวกเขาได้มีโอกาสทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เข้าอกเข้าใจกันและกันมากขึ้น  อีกทั้งยังได้มีโอกาสพัฒนาทักษะผ่านการฝึกอบรมและการดูงาน นั่นไม่เพียงแต่ทำให้พวกเขาเติบโตขึ้น หากยังสามารถเข้าใจมุมมองของคนภายนอกชุมชนตัวเองด้วย” เขากล่าว

จนถึงปัจจุบัน โครงการนี้ได้ให้เงินสนับสนุนชุมชนรวมกันแล้วเป็นจำนวน 2 ล้านเหรียญแก่ 27 หมู่บ้าน ใน 6 ตำบล และ 3 เทศบาลที่เข้าร่วมโครงการทั้งในยะลา ปัตตานี และนราธิวาส 



Api
Api