เรื่องเด่น

ก้าวสู่ความเสมอภาคหญิงชายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก

วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555



เรื่องเด่น
  • ส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในการเข้าถึงแหล่งผลิตและโอกาสทางเศรษฐกิจสามารถสนับสนุนผลิตภาพทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งหญิงและชาย
  • ส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในการเข้าถึงทรัพยากร โอกาสทางเศรษฐกิจ และการแสดงความคิดเห็นถือเป็นการลงทุนสำหรับคนรุ่นต่อไป
  • ส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในการมีสิทธิมีเสียงและมีอำนาจในการตัดสินใจในสังคมมิได้ส่งผลเพียงเพิ่มจำนวนผู้แทนราษฏรที่เท่านั้น หากแต่ยังทำให้มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาที่มีคุณภาพมากขึ้น

ประเด็นสำคัญและข้อแนะนำ

พัฒนาการในช่วงที่ผ่านมาของเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก:

  • ช่องว่างระหว่างเพศหญิงและชายในการเข้าถึงการศึกษานั้นหมดไปอย่างน่าทึ่ง ซึ่งรวมไปถึงการศึกษาในระดับมัธยมและอุดมศึกษา
  • ภูมิภาคนี้มีความก้าวหน้าอย่างมากในเรื่องผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพอนามัย
  • การมีส่วนร่วมของแรงงานสตรีในภูมิภาคนี้มีอัตราค่อนข้างสูง ประมาณร้อยละ 70 ของผู้หญิงในภูมิภาคเอเซียตะวันออกและแปซิฟิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าภูมิภาคอื่นๆ  
  • ผู้หญิงในภูมิภาคเอเซียตะวันออกมีอัตราการมีส่วนร่วมในการบริหารและเป็นเจ้าของกิจการสูงกว่าภูมิภาคกำลังพัฒนาอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

สิ่งที่ยังเป็นความท้าทาย:

  • ช่องว่างระหว่างหญิงชายในเรื่องของการศึกษายังมีอยู่ในบางประเทศที่อัตราการเข้าเรียนโดยรวมค่อนข้างต่ำ
  • การเสียชีวิตของมารดายังคงมีอัตราสูงในชนกลุ่มน้อยผู้มีรายได้ต่ำและในประเทศแถบแปซิฟิกอีกหลายประเทศ
  • ผู้หญิงยังคงมีรายได้ต่ำกว่าผู้ชายในงานประเภทเดียวกัน แรงงานสตรีมีแนวโน้มที่จะเป็นแรงงานครัวเรือนที่ไม่ได้รับค่าจ้างหรือเป็นแรงงานนอกระบบมากกว่าผู้ชายโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ70-80
  • ผู้หญิงยังคงมีสิทธิมีเสียงและอำนาจที่ด้อยว่าผู้ชายทั้งในด้านครอบครัว การเมือง และภาคประชาสังคม

บทบาทของการขับเคลื่อนทางภาคสาธรณะ:

  • การส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายในด้านทุนและการพัฒนามนุษย์
  • มาตรการกำจัดช่องว่างระหว่างหญิงและชายในโอกาสทางเศรษฐกิจ
  • การสร้างความแข็งแกร่งในการมีสิทธิมีเสียงและอำนาจของผู้หญิง และปกป้องผู้หญิงจากการถูกทารุณกรรม
  • การส่งเสริมโอกาสและการจัดการความเสี่ยงอันเนื่องมาจากทิศทางและแนวโน้มใหม่ๆ ของภูมิภาค

มัลติมีเดีย

Api
Api

Welcome