บทสรุป

การประชุมหารือสำหรับกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

วันที่ 8 พฤษภาคม 2560


Image

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์หลักของกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศคือการระบุประเด็นด้านการพัฒนาที่สำคัญที่กลุ่มธนาคารโลกจะเข้ามีส่วนร่วมกับภาคประชาชน ประเด็นดังกล่าวนี้ต้องมีผลกระทบในด้านการส่งเสริมการลดความยากจนอย่างยั่งยืนและกระจายความมั่งคั่งอย่างทั่วถึงในวงกว้าง

ผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ

การประชุมนี้เปิดกว้างให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียได้เข้ามามีส่วนร่วม ดังนี้

  • หน่วยงานภาครัฐ: กระทรวงต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทั่วประเทศ
  • หุ้นส่วนด้านการพัฒนา: หน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติ องค์กรทวิภาคี และพหภาคีอื่นๆ
  • ภาคประชาสังคม (CSOs): องค์การไม่แสวงหาผลกำไร มูลนิธิ กลุ่มแรงงาน กลุ่มนักคิด นักวิชาการ และกลุ่มวิจัยต่างๆ
  • ภาคเอกชน: ตัวแทนจากภาคธุรกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (จังหวัด) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (หอการค้าจังหวัด) และ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม


สถานที่และผู้ร่วมงาน
การประชุมนี้จะจัดขึ้นในสี่ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และกรุงเทพฯ

  • กรุงเทพฯ
  • ขอนแก่น รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ อุดรธานี หนองคาย ชัยภูมิ มหาสารคาม กาฬสินธิ์
  • สงขลา รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
  • เชียงใหม่ รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำปาง พะเยา และลำพูน

รูปแบบของการประชุม

การประชุมปรึกษาหารือนี้จะจัดขึ้นทั่วประเทศเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียจากหลายภาคส่วนได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง

การประชุมนี้จะผสมหลายรูปแบบทั้งการอภิปรายรวม การแบ่งกลุ่มอภิปราย และนำเสนอความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม ในงานนี้จะมีบริการแปลภาษา ไทย-อังกฤษและอังกฤษ-ไทย ตลอดงาน

นอกจากนี้ ธนาคารโลกได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูล เอกสารประกอบ และกำหนดการในการจัดงานแต่ละครั้ง ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ทางธนาคารโลกสำนักงานประเทศไทยได้ทางอีเมล์ thailand@worldbank.org หรือผ่านเฟ๊ซบุ๊คของเราที่

ภาษา

การประชุมกับหุ้นส่วนด้านการพัฒนาในกรุงเทพฯ จะจัดเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนการประชุมนอกเหนือจากนี้จะจัดเป็นภาษาไทยโดยมีการแปลไทย-อังกฤษ และอังกฤษ-ไทยตลอดการประชุม

การเชิญและเอกสารประกอบการประชุม

จดหมายเชิญและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะเป็นภาษาไทย ยกเว้นการปะชุมกับหุ้นส่วนการพัฒนาที่กรุงเทพฯ เท่านั้นที่ดำเนินการเป็นภาษาอังกฤษ

ข้อมูลเสนอแนะที่ได้รับจากการประชุมกับผู้มีส่วนได้เสีย

บทสรุปที่ได้จากการประชุมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ธนาคารโลกจะโพสต์ลงบนเว็บไชต์การประชุมของประเทศไทย



Welcome